ก้าวข้ามปัญหา ด้วยการขจัดความไม่รู้ทั้ง 4 ด้านนี้

วันที่: 05 เม.ย. 2565 13:43:21     แก้ไข: 27 เม.ย. 2565 09:49:47     เปิดอ่าน: 1,638     Blogs
การไม่รู้ว่าตัวเอง คือ "ปัญหา" คือ การสร้างปัญหาที่ใหญ่ที่สุด

อันที่จริง ผลกระทบปัญหาต่างๆ ที่เราเผชิญอยู่นั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจาก "ความเขลา" อย่างที่ หลายๆ คน คิดนะครับ

แต่เกิดจาก "ความไม่รู้" หรือ ไม่มีข้อมูลในการจัดการกับ "สถานการณ์" ที่เกิดขึ้น เมื่อไม่สามารถจัดการได้ "สถานการณ์"นั้น จึงเป็น "ปัญหา"
และปัญหามันจะยิ่งใหญ่ขึ้น ตามระดับของความไม่รู้นี้ จนเกิดผลกระทบรุนแรงต่างกันไป

ผมขอแยก "ความไม่รู้" แบบง่ายๆ ออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ครับ ความไม่รู้ตัวแรก คือ ไม่รู้วิธีแก้ไข "สถานการณ์"

เรื่องนี้เหมือนเป็นเรื่องหนักหนา แต่ถือว่า "ยังดีที่รู้ว่ามีปัญหาเกิด" เพียงแต่เราขาดทักษะบางอย่างในการจัดการ ยังสามารถเรียนรู้เพิ่มเติม หรือ หาตัวช่วยมาจัดการแก้ไขได้

ความไม่รู้ตัวที่สอง คือ อันนี้หนักขึ้นมาอีกหน่อย คือรู้ปัญหา แต่ "ไม่ตระหนักถึงการรีบแก้ปัญหา" และความรีบตัดไฟแต่ต้นลม ซึ่งอาจทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ลุกลามใหญ่โตกว่าเดิมได้ อย่างไรก็ตาม แม้รู้สึกตัวช้าหน่อยก็ยังสามารถแก้ปัญหาได้ เพียงแต่จะยากขึ้นกว่าเดิม

ความไม่รู้ตัวที่สาม คือ การ "ไม่รับรู้ว่า สถานการณ์นั้น เป็นปัญหา หรือ ไม่รู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว"

ข้อนี้ยิ่งหนัก เพราะมองว่า "สถานการณ์ที่ไม่ถูกต้อง และผิดปกตินั้น" เป็นเรื่องปกติสามัญ "มันก็เป็นแบบนี้มานานแล้ว ไม่ได้เป็นปัญหาหรอก" แล้วก็ปล่อยปละละเลย จนเป็นปัญหาสะสม

เมื่อปัญหาเพิ่มมากขึ้น ก็จะกระทบส่วนอื่นๆ เป็นลูกโซ่ แต่ที่ว่ามาทั้งสามตัวนั้น ผลกระทบยังนับว่าน้อยนัก เมื่อเจอกับความไม่รู้ "ตัวสุดท้าย" นั่น คือ

ความไม่รู้ว่า "ตัวเอง คือ ต้นเหตุแห่งปัญหา" ทั้งหลายทั้งปวง
เพราะไม่รู้แบบนี้ เมื่อก้าวย่างไปที่ไหน จึงพาสาเหตุของปัญหาไปทุกที่ และสร้างความเดือดร้อนให้ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ไม่เว้นแม้แต่ตัวเอง

อีกทั้ง "ความไม่รู้" แบบนี้ยังทำให้ตาบอด มองไม่เห็นทางแก้ไขใดๆ ได้ เลย เพราะมัวแต่โทษคนอื่นและสิ่งอื่นตลอดเวลา หมดหนทางเยียวยา จนกว่าเจ้าตัวจะรู้สึกตัวได้เอง และหันมามองความจริงอย่างที่มันเป็น

จริงอยู่ว่า ความจริงบางเรื่อง อาจทำให้เจ็บใจนิดๆ แต่ก็ยังดีกว่า การไม่รู้ตัว หรือ มัวปลอบประโลมจิตใจ แบบใช้กลไกปกป้องตัวเอง (Defense Mechanism) เพราะสุดท้าย มันจะไม่ได้แก้ไขปัญหาใดๆ ในชีวิตให้ดีขึ้นเลย

มาตื่นรู้ ก้าวข้ามความ "ไม่รู้" ต่างๆ เพื่อให้แก้ไขปัญหา และสถานการณ์ในชีวิตดีขึ้นกันเถอะครับ
อ้างอิง : Photo: freepix.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้