จะเป็นองค์กรแห่งอนาคต (Future Oraganization) ต้องทำอย่างไร? New

วันที่: 05 เม.ย. 2564 09:39:43     แก้ไข: 05 เม.ย. 2564 13:47:51     เปิดอ่าน: 3,871     Blogs
องค์กรจะเป็น Future Organization ที่อยู่รอดและสู้ความวุ่นวายจาก VUCA World ได้ ต้องมีคุณลักษณะ 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1. Identity ตัวตนขององค์กร ว่าดำรงอยู่เพื่ออะไร เหมาะสมกับพนักงานและลูกค้าหรือไม่?
2. Agility วิธีการดำเนินงานขององค์กรในอนาคต ความเร็ว ความคล่องตัวกลายเป็นสิ่งที่สำคัญ องค์ฏรเรามีมากแค่ไหน
3. Sclability องค์กรจะเติบโตต่อไปในอนาคตได้อย่างไร ด้วยการเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ นวัตกรรม โดยกล้าเปลี่ยนแปลง

แต่จะดูจากอะไรบ้างนั้น ใช้ Checklist นี้ได้เลยครับ ตัวนี้ขออ้างอิงจากงานของ McKinsey และแปลงมาใช้เป็น Checklist เพื่อให้เรารู้ว่า องค์กรยังขาดตรงไหน จะได้ทำการเสริมได้
9 checklist นี้ ก็คือ การแยกแต่ละองค์ประกอบเป็นส่วนละ 3 ด้านดังนี้ครับ

ด้านIdentity ตัวตนขององค์กร ประกอบด้วย

Checklist1 Purpose หรือ วัตถุประสงค์
ซึ่งวัตถุประสงค์นี้ เป็นการมองออก (outward) ว่า องค์กรทำธุรกิจนี้ไปทำไม (Why) ทำให้กับใครและพวกเขาได้ประโยชน์อะไร ซึ่งจะต่างจากเดิมที่มองว่า องค์กรจะเป็นอะไร (What) และต้องทำอะไร (How)
เช่น Purpose ของ บ. Apple คือ "การสร้างการค้นหาความสร้างสรรค์ และ แสดงออกซึ่งตัวตน" (To empower creative exploration and self-expression.)
Checklist 2 Value หรือ คุณค่าตามวัตถุประสงค์
องค์กรส่งเสริมให้แต่ละหน่วยงานต้องมีส่วนร่วมกับคุณค่านี้ด้วย ไม่ใช่แค่ หน่วยงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ เซลส์ หรือ การตลาดแบบเดิม
Checklist 3 Culture หรือ วัฒนธรรมองค์กร (จริงๆ)
องค์กรมีวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการทำงานให้ได้ตาม Value และ Purpose ข้างต้นจริงไหม ?
หรือ วัฒนธรรมนั้นติดอยู่แค่ข้างฝา หน้าฟร้อน เว็บไซต์ ท้ายอีเมล์ เท่านั้น

ด้าน Agility ความว่องไว ประกอบด้วย
Checklist 4 Structure องค์กร มีการปรับโครงสร้างที่กระชับแล้วหรือยัง หรือ ยังเป็นน้ำตกเอราวัณสูง 7 ชั้นอยู่
บทบาทหัวหน้างาน ยังเป็นผู้บังคับการอย่างเดียว หรือ เป็นโค้ชคอยสนับสนุนทีมหรือยัง?
Checklist 5 Decision ระบบการตัดสินใจที่จะทำให้งานเร็วขึ้นนั้น มีการเริ่มทำบ้างหรือยัง มีมากน้อยแค่ไหน
ไม่ว่าจะเป็นการนำ Technology มาใช้เพื่อการตัดสินใจ เช่น Big data หรือ AI การส่งเสริมให้พนักงานที่ใกล้ชิดลูกค้าจริงๆ กล้า และ มี อำนาจในการตัดสินใจได้ทันที
Checklist 6 Talent
องค์กรเน้น "คนเก่ง" หรือ "คนเก่า" มากกว่ากัน และได้ออกแบบสภาพแวดล้อมให้คนเก่งๆ อยู่ได้ไหม หรือ พวกเขาหนีไปกันหมดแล้ว?
อย่าง Netflix เอง ก็จะมีวัฒนธรรมแบบ No rule rulesหรือ กฎที่ไม่มีกฎ โดยอิสระแบบสุดโต่ง เพื่อให้คนเก่ง ปล่อยของในงานได้อย่างเต็มที่ (ซึ่งทุกคนในบริษัท ก็เป็นคนเก่งหมด เพราะเขาก็เลือกรับคนเก่งๆ แต่แรกแล้ว)

ด้าน Scalability การเติบโต ประกอบด้วย
Checklist 7 Ecosystem
องค์กรเน้นการสร้าง หรือ ระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อธุรกิจมากน้อยแค่ไหน?
ในอนาคตที่ทุกอย่างมีความซับซ้อนมากขึ้น ต่างจากอดีต ที่ธุรกิจมีความตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อนมาก ไม่ต้องพึ่งใคร ดังนั้น องค์กรต้องมี "พันธมิตร" ที่เชื่อใจได้ และสามารถสร้างคุณค่าอย่างที่องค์กรต้องการส่งมอบให้ได้ ไม่ใช่แค่เพียง Supplier หรือ Outsource แบบเดิม
Checklist 8 Platform
องค์กรมีระบบที่เอื้อต่อการใช้ข้อมูล (Data) ในองค์กรหรือยัง? และมีการส่งเสริมให้บุคลากรคิดแบบใช้ข้อมูลมากน้อยแค่ไหน?
และต้องยกระดับ ให้ใช้ข้อมูลเพื่อสร้างคุณค่าทางธุรกิจได้ (Data is Business) มากกว่าการใช้ข้อมูลแค่ประกอบการตัดสินใจ
Checklist 9 Learning
องค์กรสร้างทัศนคติในการเรียนรู้ไหม? และมีการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาของพนักงานมากแค่ไหน?
ในที่นี้ หมายถึง ทั้งการเรียนรู้ทุกทางนะครับ ไม่ว่าจะผ่านการทำงานจริง การโค้ช หรือ หลักสูตรต่างๆ ที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจ
เพราะในอนาคต Skill ต่างของพนักงาน จะต้องทั้ง upskill ทั้ง reskill ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง
แม้แต่วิธีการทำงาน ต้องเปลี่ยนเป็นเหมือนการทำการทดลอง (experiment) เพราะหลายๆ อย่างเป็นโจทย์ใหม่ทั้งนั้น mindset แบบ ทำอย่างไรไม่ให้ผิด อาจต้องเปลี่ยนเป็น ทำอย่างไรให้เรียนรู้จากความผิดพพลาดให้เร็วที่สุดแทน
นี่ก็คือ 9 checklist เพื่อดูว่าองค์กรคุณ พร้อมเดินทางไปโลกใบใหม่แค่ไหนแล้ว
เป็นอย่างไรบ้างครับ เช็คแล้วได้กันกี่แต้มบ้าง?

ไม่ครบ ไม่ต้องตกใจนะครับ เพราะองค์กรชั้นนำหลายที่ ก็ไม่ครบหรอกครับ
แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องเริ่ม! ครับ
เพราะอนาคตขององค์กร เริ่มต้นจากวันนี้ และการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลง มันอยู่ในมือของหัวหน้าอย่างพวกคุณทุกคนครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้