ถ้าคุณสร้างคอกขึ้นมาล้อมคน คุณจะได้แค่ฝูงแกะ

วันที่: 21 ก.ค. 2563 16:21:59     แก้ไข: 29 ม.ค. 2564 21:46:07     เปิดอ่าน: 2,240     Blogs

ในช่วงนี้ ผู้อ่านคงเห็นแล้วว่าการปรับตัวของธุรกิจเพียงอย่างเดียว ก็คือ การคิดแบบสร้างสรรค์ สร้างสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า (ระหว่างที่เรากำลังรอวัคซีนไปพลางๆ)

ผู้บริหารหลายคนก็ปรับตัว จูนหัวตัวเองใหม่ จากเดิมที่คอยระวังเรื่องผิด-ถูก จากประสบการณ์เป็นหลัก เปลี่ยนเป็นต้องยอมรับความผิดพลาดให้ได้บ้าง เพื่อที่จะส่งเสริมให้ทีมงานเกิดวัฒนธรรมการทำงานแบบกล้าคิดกล้าทำมากขึ้น

วิธีบริหารแบบนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ครับ เกือบร้อยปีก่อน ก็มีผู้นำที่ส่งเสริมให้พนักงานมีวัฒนธรรมด้านนวัตกรรม ในแบบไม่ค่อยมีใครในยุคนั้นทำกัน เพราะมักเน้นสายการบังคับบัญชาและการควบคุมมากกว่า

ผู้บริหารที่ผมเอ่ยถึง คือ วิลเลียม แมคไนท์ ซึ่งเป็นทั้งผู้นำของ 3M และเจ้าของวาทะข้างต้น

เขาเริ่มทำงานกับ 3M (เดิมชื่อ บ.มินเนโซต้า ไมน์นิ่ง แมนูแฟคเจอริ่ง) ในตำแหน่ง สมุห์บัญชี และไต่เต้ามาจนได้เป็นผู้นำองค์กรในเวลาต่อมา

ช่วงยุคต้นของ 3M บริษัทไม่ได้รุ่งเรืองมีชื่อเสียงแบบปัจจุบันนะครับ ออกแนวจะรุ่งริ่งด้วยซ้ำ เมื่อดันเชื่อว่า ตัวเองพบแหล่งแร่อะลูมิเนียมออกไซด์ และหัวงว่าจะทำเงินได้เยอะจากมัน แต่ไปๆมาๆ แร่ที่พบกลับเป็นหินอะนอร์โทไซด์ไปเสียได้ ทำให้บริษัทต้องเหนื่อยวิ่งเต้นหาทุนมาปรับสินค้า และนำวัตถุดิบดังกล่าวมาผลิตกระดาษทรายคุณภาพต่ำอีก

3M เหนื่อยแบบนี้อยู่พักใหญ่ๆ (เกือบสิบปี) จนวันเวลาล่วงเลย และวิลเลี่ยม แมคไนท์เติบโตในหน้าที่การงาน ได้รับตำแหน่งผู้บริหารระดับบน จากนั้นแนวทางการทำงานของคนที่ 3M ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

เขาเริ่มส่งเสริมให้พนักงานทดลองทำในสิ่งใหม่ โดยจะไม่วิพากษ์วิจารณ์ เมื่อเกิดความผิดพลาด และสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์

แมคไนท์ มีปรัชญาในการสร้างองค์กรว่า ยิ่งต้องการให้ธุรกิจโตขึ้น การกระจายอำนาจ ยิ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น และต้องส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้มีบทบาทในการคิด 

3M จึงเป็นบริษัทที่มีคำว่า "นวัตกรรม" เป็นแบรนด์ประจำองค์กร โดยที่เขาวางนโยบายที่เรียกว่า กฎ15% เพื่อกระตุ้นให้พนักงานใช้เวลา 15% ในการทำวิจัยอะไรก็ได้ตาม passion เลย

ในปัจจุบันแนวความคิดแบบแมคไนท์ ดูเป็นเรื่องปกติมากขึ้น เมื่อเข้าสู่ยุค Disruption หลายบริษัท เริ่มเน้นให้พนักงานกล้าที่จะลงมือทำมากขึ้น เพื่อให้เกิดแนวทางการทำงาน หรือ ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ

บางที่มีการส่งเสริมมากถึงขนาดจัดให้มีโครงการประกวดนวัตกรรมในองค์กร หรือ Open Innovation ด้วยซ้ำ

แต่อุปสรรคของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบนี้ก็ยังมีอยู่ ไม่ต่างจากยุคที่วิลเลี่ยม แมคไนท์ยังมีชีวิตอยู่เลย

ผมมีโอกาสพูดคุยกับผู้บริหารที่ริเริ่มโครงการนวัตกรรม พบว่าบ่อยครั้งผู้บริหารระดับสูงหลายท่านยังไม่ค่อยเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการนวัตกรรมเท่าไร และมักวิจารณ์ (กึ่งต่อว่า) แนวความคิดที่พนักงานส่งเข้าประกวด ว่าไม่ได้เรื่องบ้าง ไม่ได้ช่วยลดต้นทุนหรือเพิ่มรายได้บ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ถือว่าเป็นศัตรูตัวร้ายของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่างมาก อย่างที่แมกไนท์บอกว่า การวิพากษ์วิจารณ์ความผิดพลาดอย่างรุนแรงเกิดเหตุนั้น เป็นการฆ่าความคิดสร้างสรรค์ของคนทำงานให้ตายสนิท และยังเป็นการคุมกำเนิดไอเดียอีกหลายอย่างที่จะตามมา

เพราะอย่าง Post-it ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของไอเดียที่ผิดพลาดที่พนักงาน 3M Arthur Fry และ Spencer Silver เดิมอยากพัฒนากระดาษที่ติดแน่นทนทาน แล้วไม่เวิร์ค แต่สุดท้ายการลอกออกได้ ไร้คราบกาวติด และการนำมาใช้ซ้ำ กลับกลายเป็นคุณสมบัติเด่นของ Post-it และเป็นสินค้าทำเงินตั้งแต่ ปี 1970

ดังนั้น การจะสร้างให้เกิดเป็น DNA ขององค์กรได้ จึงต้องใช้ความพยายามมากในการปรับเปลี่ยน และผู้บริหารเองต้องปลดล็อกตัวเองจากสิ่งเหล่านี้ให้ได้

1. การด่วนตัดสิน (เพราะมันต่างจากประสบการณ์เดิมของตน)
2. การมุ่งเน้นต้นทุนกำไร ที่จับต้องได้มากเกินไป เพราะไอเดียบางอย่างอาจต่อยอดได้ หรือ มีประโยชน์ที่ไม่ได้อยู่ในรูปของตัวเงิน
3. ความกังวล ว่าไอเดียใหม่ๆ จะนำมาซึ่งความผิดพลาด หรือ การวิพากษ์วิจารณ์ความผิดพลาดอย่างรุนแรง

จากนั้น ผู้นำควรใช้ประสบการณ์ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุน แนะนำ และ
อำนวยความสะดวกให้คนในทีมสามารถทำผลงานให้ดีที่สุด

เพราะหากใช้ "ประสบการณ์" เป็นวัสดุในการสร้างรั้ว แม้เจตนาจะเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผลงานและองค์กร แต่ก็เป็นการกักขังไอเดียที่ดีไปด้วย อีกทั้งส่งผลให้สมาชิกทีมใช้ชีวิตอยู่ภายในรั้ว เหมือนแกะที่อยู่อย่างสบาย ไม่ต้องคิด และคอยฟังคำสั่งจากผู้นำเพียงอย่างเดียวครับ

 

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking

 

 
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้