ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ยังคงใช้ได้ หรือ ควรเก็บไปเข้ากรุดี?

วันที่: 07 พ.ย. 2564 13:06:03     แก้ไข: 07 พ.ย. 2564 13:17:59     เปิดอ่าน: 15,855     Blogs
ในช่วงนี้ ผมต้องปรับรูปแบบการสอนเป็น online หลายหลักสูตร จึงได้โอกาสทบทวนเนื้อหาการสอนไปในตัวครับ
ในช่วงนี้เองที่ได้พบว่า ทฤษฎีการบริหารงานแบบดั้งเดิมหลายตัวนั้น เอาจริงๆ ก็ยังสามารถปรับใช้กับปัจจุบันได้ แม้ว่าเราจะเปลี่ยนจากยุคอนาล็อก มาเป็นดิจิทัลก็ตาม
หนึ่งในนั้น คือ ทฤษฎี X และ Y ของ Douglas McGregor นี่แหละครับ
แนวคิดนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ ครึ่งศตวรรษก่อน ราวๆ ต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 โน่น (ราวๆ 1960) ซึ่งเป็นยุคต้นของดิจิทัลเลย เพราะช่วงที่คอมพิวเตอร์เกิดพอดี
ทฤษฎีนี้อธิบายว่า มุมมองของผู้นำที่มีต่อพนักงาน มี 2 แบบ คือ
ทฤษฎี X
เป็นมุมมองที่ว่า พนักงานนั้น มาทำงานแค่อยากได้เงิน สวัสดิการ ไม่ได้มีแรงจูงใจ หรือ ความรับผิดชอบต่องานหรอก
ไม่ได้รักงานที่ทำ มักเลี่ยงความรับผิดชอบ ไม่อยากพัฒนาตนเอง
ผลก็คือ หัวหน้า ต้องควบคุม มีกฎระเบียบให้มากไว้ หากผิด ก็ให้ลงโทษ แบบฝึกสิงโตในคณะละครสัตว์นั่นแหละ และต้องให้ #คำสั่งที่เด็ดขาด
และ McGregor เชื่อว่า หัวหน้าส่วนใหญ่ก็มักมีมุมมองแนวนี้ ผู้อ่านเห็นด้วยไหมครับ?
ทฤษฎี Y
เป็นมุมมองอีกด้านที่หัวหน้าเชื่อว่า คนเราย่อมมีแรงจูงใจมากกว่าตัวเงินนะ เค้าอยากที่จะพัฒนาตนเอง และมีความรับผิดชอบมากพอที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
ผลจากมุมมองแบบนี้ ก็คือ หัวหน้าจะให้อิสระ ให้พนักงานมีส่วนร่วมกับงาน และแสดงความคิดเห็น ส่วนตัวหัวหน้าก็ทำหน้าที่ให้ #คำแนะนำที่จำเป็น
ถึงตรงนี้ ผู้อ่านพอทราบรึยังครับว่า สามารถเอามาใช้ในยุคดิจิทัลได้อย่างไร?
แนวคิดแบบ Theory Y นี่แหละครับ ที่เราอยากให้พนักงานยุคนี้เป็น เพื่อที่จะได้มีความเป็นเจ้าของงาน (Ownership) และช่วยให้ทีมงานและองค์กรสู้ศึกใหญ่ในยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว โดยที่หัวหน้างานไม่ต้องเป็น "เดอะ แบก" แยกภาระทุกอย่าง จนทีมงานไปด้วยความเร็วแบบเรือเกลือ
สิ่งที่ผมอยากเพิ่มเติม จากแนวคิดนี้ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย คือ
1. หัวหน้าไม่ควรมองว่าลูกน้องเป็น X หรือ Y ล่วงหน้า (prejudgement)
แต่ควรพิจารณาลักษณะของทีมตามความจริงว่า สมาชิกทีมแต่ละคนนั้น มีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน ในแต่ละด้าน แต่ละสถานการณ์การทำงาน
2. ไม่ว่าลูกทีมเป็นแบบไหน สิ่งที่ต้องทำ คือ #ต้องTransform พวกเขาให้เป็นไปตามทฤษฎี Y ให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการให้คำแนะนำในงานจริง หรือ การสนับสนุนด้านอื่นๆ เช่น การให้ feedback การสร้างแรงจูงใจ
เพราะว่า การทำงานในยุคดิจิทัล ที่สถานการณ์ มัน"เปลี่ยนไว ไม่แน่นอน ซับซ้อน คลุมเคลือ" นั้น หัวหน้าเก่งแค่คนเดียว มันเอาไม่อยู่ครับ ไม่สามารถนำให้ทีมว่องไว (Agile) ได้
ทางเดียว คือ ต้องสร้างทีมให้แข็งแกร่ง และพร้อมที่จะพึ่งพาตนเองได้ (Autonomous Team) หัวหน้าจะได้ Empower ทีมให้เขาทำงานได้ ด้วยความเชื่อใจ อย่างมุมมองของ Theory Y จริงๆ ที่ไม่ใช่โลกสวยมองแบบ Y ล่วงหน้าไปก่อน
เพียงแค่นี้ ทฤษฎี X Y ก็จะช่วยให้ทีมเราฝ่าสถานการณ์วุ่นวายในยุคนี้ได้ครับ
ยังมีทฤษฎีเก่าที่คลาสสิค และนำมาใช้ได้อีกมาก หากเอามาใช้ยุคนี้ ก็แค่ปรับแต่งเพิ่มนิดหน่อยให้เข้ายุคสมัยได้เช่นกันครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้