บริหารงานด้วย Data เรื่องที่หัวหน้าต้องไม่พลาดในการบริหารงานยุคใหม่

วันที่: 05 เม.ย. 2565 13:39:38     แก้ไข: 28 เม.ย. 2565 21:00:27     เปิดอ่าน: 1,017     Blogs
"ถ้าอธิบายปัญหาได้ชัดเจน เท่ากับแก้ปัญหาไปได้แล้วครึ่งหนึ่ง"
จอห์น ดิวอี้ นักปรัชญาชาวอเมริกันได้ว่าไว้แบบนั้น

โชคดีอย่างมากเช่นกัน ที่ในยุคปัจจุบันคำอธิบายปัญหาเหล่านั้น อยู่ในรูปแบบของ "ข้อมูลดิจิทัล"

เดิมทีการแก้ปัญหาในองค์กรหลายๆ อย่างนั้น มักจะใช้ความเห็น ความเชื่อ ซึ่งมาในรูปแบบประสบการณ์ของคนๆ หนึ่ง ซึ่งบางครั้งมันอาจใช้ไม่ได้ผลกับทุกเรื่อง หรือ บริบทรอบตัวที่ต่างจากเดิม

แต่ในปัจจุบัน พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะการต่อยอดของระบบคอมพิวเตอร์และ internet ทำให้ตรวจวัดพฤติกรรมต่างๆ ที่คนเราทำจริงๆ ออกมาในเชิงตัวเลขได้ชัดเจนขึ้น เช่น การติดเซ็นเซอร์ไว้ที่อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือ รถยนต์ ที่ทำให้รู้ได้ว่า เกิดการใช้งานจริงอย่างไรบ้าง เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง และพัฒนาในธุรกิจ

เพราะ Data สำคัญขนาดนี้ ในช่วง 2-3 ที่ผ่านมาจึงเป็นที่พูดถึงอย่างมาก โดยเฉพาะกับศัพท์คำว่า Big Data ที่ทุกคนคุ้นเคย

แล้วสำหรับการใช้ Data เพื่อการบริหารงานในฐานะหัวหน้างานล่ะครับ?
เราเริ่มฝึกใช้กันบ้างหรือยัง?

หลายคนอาจมองข้ามไปว่า การบริหารคนนั้นไม่ควรเอา Data มาใช้เพราะเป็นเรื่องคน

แต่จริงแล้ว การบริหารคนก็เป็นปัญหาแบบหนึ่ง
"ถ้าอธิบายปัญหาได้ชัดเจน เท่ากับแก้ปัญหาไปได้แล้วครึ่งหนึ่ง" เหมือนกัน

และพฤติกรรมการทำงานต่างๆ ของพนักงานถ้าจะวัดจริงๆ ก็วัดได้ เพราะการทำงานปัจจุบัน แทบทุกอย่างใช้อุปกรณ์ที่สามารถติดตามวัดผลได้หมดครับ เช่น พฤติกรรมการใช้อีเมล์ การติดต่อลูกค้า เป็นต้น ดังนั้น หากออกแบบระบบการทำงานไว้ดีพอ ข้อมูลต่างๆ ก็สามารถติดตามและนำมาวิเคราะห์ได้

Data จึงสามารถช่วยให้หัวหน้างานมีข้อมูลที่จะอธิบายปัญหาในการบริหารคนได้มาก ที่สำคัญมันเป็นข้อเท็จจริงด้วย จึงลดข้อถกเถียง หรือ การโต้แย้งได้ เช่น หากจะให้ feedback หรือ จะประเมินผล ก็ควรมี Data เป็นข้อเท็จจริงในการคุย

สิ่งสำคัญของการใช้ Data เพื่อบริหารคน จึงอยู่ที่ว่า หัวหน้าจะต้องรู้ว่า

1. จะนำ data ไปใช้ในด้านไหน?
เพราะหน้าที่ของหัวหน้าในการบริหารคนมีเยอะด้านอยู่

2. ปัญหา หรือ เรื่องที่ต้องตัดสินใจ คือ อะไร?
เพราะในแต่ละบทบาทนั้น ปัญหาก็มีหลากหลาย

3. ควรตั้งคำถาม หรือ โจทย์แบบไหน? และจะเอา Data ส่วนไหนมาใช้บ้าง?
เพราะ ถ้าตั้งคำถามเป็น ก็จะรู้ว่าต้องดึงเอาข้อมูลแบบไหนมาวิเคราะห์

4. ต้องสรุปให้เป็น ให้เห็นปัญหา และได้คำตอบเพื่อแก้ไขมัน Data ที่ได้มานั้น ต้องผ่านการวิเคราะห์ เพื่อให้มันกลายเป็นข้อมูล (Information) และยกระดับเป็น ทางแก้ไขปัญหา (Solution) ให้ได้ จนเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร

อย่าลืมว่า การทำงานทุกวันนี้ ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ
และมันจะมีบทบาทในการทำงานของเรามากขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ในการบริหารคนและทีมงานมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งกว่าเดิมแน่นอนครับ
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้