ประสบการณ์ที่ดีของพนักงาน เริ่มสร้างได้จากหัวหน้างาน

วันที่: 03 ต.ค. 2564 12:06:52     แก้ไข: 14 มี.ค. 2565 10:08:19     เปิดอ่าน: 2,601     Blogs
งานวิจัยของ McKinsey บอกว่าพนักงานที่มีประสบการณ์ที่ดีกับองค์กรนั้น จะมีความผูกพันมากกว่ากลุ่มที่มีประสบการณ์ไม่ดี มากถึง 18 เท่าครับ
ซึ่งการจะประสบการณ์ที่ดีของพนักงาน (Employee Experience) ได้ ก็ต้องรู้จักการสร้างบรรยากาศที่ดี (Work Environtment) ในการทำงาน เพียงแต่รายละเอียดที่ต้องปรับเพิ่ม ก็คือ คนทำงานรุ่นใหม่ๆ จะมีความแตกต่างจากยุคเดิมในบางเรื่องครับ
แนวคิดจาก McKinsey จึงแนะนำว่า ให้มองการสร้างประสบการณ์ในสามด้านที่สำคัญ นั่นคือ
1. Social Experience คือ ด้านสังคมในที่ทำงาน หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างคนในออฟฟิศ ว่าพนักงานของเรารุ้สึกว่า เป็นส่วนหนึ่งของสังคมในที่ทำงานไหม รู้สึกว่าทำงานเป็นทีมหรือเปล่า หรือ แม้แต่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวพวกเขากับหัวหน้างานเป็นอย่างไร
ถ้าพนักงานรู้สึกว่าผู้คนในที่ทำงานไม่เป็นมิตร แต่เป็นพิษมากกว่า (Toxic People) ก็จะทนทำงานตามหน้าที่ เพียงเพื่อให้ได้เงินเลี้ยงชีพแต่ละเดือนเท่านั้นครับ
ในยุคใหม่นี้ ความสัมพันธ์ในการทำงานต่างจากเดิมค่อนข้างมากครับ เพราะว่าในบ้านเราเดิมทีจะมีการเคารพผู้อาวุโส เหมือนเป็นญาติพี่น้อง ที่อาจเน้นความเป็นมืออาชีพมากกว่า ประกอบกับสภาพแวดล้อมในการทำงานเปลี่ยนไป ที่การแข่งขันต่างๆ มากขึ้น จนเกิดความเครียดในการทำงานมากกว่ายุคก่อน
ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในที่ทำงานอาจเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก ดังนั้นประสบการณ์ด้านความสัมพันธ์นี้ จึงควรต้องพิจารณาสิ่งเปล่านี้และปรับให้ทันยุคสมัยด้วยครับ
2. Work Experience คือ ด้านการทำงาน ด้านนี้เน้นที่ตัวงานครับ ว่ามีความชัดเจนแค่ไหน มีทรัพยากรที่เพียงพอให้ทำงานบรรลุเป้าหมายได้ไหม
สิ่งที่เปลี่ยนไป คือ ยุคเดิมพนักงานยึดกับหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมมองว่าหัวหน้า คือ ผู้ที่จะกำหนดทิศทางการทำงานแทบทุกอย่าง การปฏิบัติตามคำสั่งจึงไม่เป็นปัญหา แต่สำหรับคนยุคใหม่ ก็คือ งานนั้นต้องมีอิสระในการคิดในการทำงานพอสมควร และอาจมองว่างานที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งนั้น เป็นการจำกัดความคิดสร้างสรรค์ได้

อีกส่วนคือ การสร้างความเติบโตในหน้าที่การงานที่ตอบโจทย์กับเป้าหมายในชีวิต
คนยุคใหม่ๆ อยากทำงานที่มีความหมายต่อการพัฒนาตนเอง มากกว่าแค่เรื่องเงิน หรือ ความมั่นคงเพียงอย่างเดียวแบบเดิมครับ
3. Organization Experience คือ ด้านองค์กร สมัยนี้พนักงานหลายคนก็ดูนะครับว่า จุดมุ่งหมายขององค์กรนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายส่วนตัวของพวกเขาแค่ไหน เช่น หากองค์กรเน้นการดูแลสิ่งแวดล้อม เหมือนพวกเขา ก็อาจทำให้พนักงานเหล่านั้น ชื่นชมและเกิดประสบการณ์ที่ดีในการทำงาน
นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำงานมาใช้อย่างเหมาะสม และมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกได้ ก็ทำให้พนักงานมีประสบการณ์ที่ดีต่อองค์กรมากขึ้นครับ
เมื่อพูดถึงประสบการณ์ที่ดีของพนักงาน หลายๆ องค์กร มักมาเน้นที่สิ่งอำนวยความสะดวกในออฟฟิศ อย่างเช่น มีโต๊ะสนุ๊กเกอร์ มีเตียงให้งีบตอนกลางวัน หรือ มีขนมให้กินไม่อั้น ตามแบบสำนักงานสมัยใหม่ขององค์กรระดับโลก แต่จริงๆ แล้วประสบการณ์ที่ดีนั้น มันคือทุกอย่างทั้งสิ่งที่จับต้องได้และไม่ได้ทั้งหมด ที่พนักงานรับรู้ และถ้าหากเราต้องการจะให้พนักงานเกิดประสบการณ์ที่ดีนั้น ก็ต้องปรับทั้งสามด้านข้างต้นด้วยครับ
ฟังแล้วเหมือนจะยุ่งยาก แต่จริงๆ แล้ว องค์กรมีตัวช่วยที่สำคัญมากๆ และเรียกได้ว่าเป็น Key Success หนึ่งของการสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่พนักงานเลยครับ
นั่นก็คือหัวหน้างานนี่แหละครับ เพราะเป็นคนที่ใกล้ชิดพนักงาน และทีอิทธิพลมากพอที่จะประสานระหว่างพนักงานและองค์กรได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบรรยากาศของความเป็นทีมในงาน การสื่อสารงานที่ชัดเจน การสร้างแรงจูงใจ หรือ แม้แต่เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาพนักงานแต่ละคน
แม้แต่ประสบการณ์ด้านองค์กร หัวหน้างานก็มีส่วนอย่างมากในการสื่อสารทิศทางของบริษัท การให้ทรัพยากรที่เพียงพอต่อการทำงาน หรือ การดูแลสารทุกข์สุกดิบในฐานะตัวแทนขององค์กรก็ตาม
ดังนั้น แทนที่จะลงทุนมากมายไปกับการรื้อสร้างออฟฟิศใหม่ ลองมาลงทุนพัฒนาหัวหน้างานให้สามารถเป็นผู้ประสานสิ่งเหล่านี้ให้ได้น่าจะเวิร์คกว่าครับ
อย่าลืมนะครับ ว่าคนเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ยิ่งเป็นยุคดิจิทัลด้วยแล้ว กลุ่มพนักงานที่เป็นคนเก่ง (Talent) นั้น เป็นที่ต้องการอย่างมากด้วย ซึ่งถ้าองค์กรใดดูแลพวกเขาไม่ดี แล้ว ที่อื่นๆ ก็พร้อมที่จะมอบประสบการณ์ที่ดีในการทำงานให้พวกเขาแทนครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้