พัฒนา 6 ทักษะการคิด แล้วลูกน้องคุณจะแก้ปัญหาในชีวิตการทำงานได้ด้วยตัวเอง

วันที่: 07 ก.พ. 2566 15:37:32     แก้ไข: 13 ก.พ. 2566 09:14:15     เปิดอ่าน: 1,396     Blogs
เคยเห็นลูกน้องแบบนี้ไหมครับ? ที่เกิดปัญหาทีไร วิ่งหาหัวหน้า หรือ ให้เพื่อนช่วยตลอด ทั้งๆ ที่บางปัญหาไม่ได้ยากเลย ลักษณะการทำงานแบบนี้ บางทีอาจจะเกิดจากการขาด "ทักษะการคิด" ก็ได้ครับ

กรณีนี้ ขอข้ามเรื่องทัศนคติ ที่ทำให้หลายคนไม่ยอมแก้ปัญหา เช่น กลัวว่าจะซวยจากการตัดสินใจ หรือ ขี้เกียจใช้สมองคิด นะครับ แต่ประเด็นที่เกิดจากความคิดนี้ คือ เขาขาดทักษะจริงๆ เช่น

ไม่รู้ว่าจะวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาอย่างไร ก็หารากปัญหาไม่ได้ ก็แก้ผิดจุด บางเคส ก็ไม่มองทั้งระบบ แก้ส่วนนึงไปกระทบอีกส่วนนึงก็มี

การพัฒนาทักษะการคิดจึงช่วยให้เขาได้รู้ว่า วิธีคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีแนวทางอย่างไร
ว่าง่ายๆ ก็คือ มีหลักให้เดินตาม

1. Analytical Thinking
ก็คือ หลักที่ทำให้เขา คิด วิเคราะห์ แยกแยะได้ (ไม่ต้องย่อนะครับ เดี๋ยวเพจโดนแบน)

2. Critical Thinking
ช่วยให้คิดรอบด้าน รู้ว่าต้องรวบรวม ตรวจสอบข้อมูลอย่างไร จะได้เข้าใจปัญหา

3. Creative Thinking
ก็ช่วยให้คิดแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์และได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมได้

4. System Thinking
ช่วยให้มองสิ่งต่างๆ เป็นระบบ ดูผลกระทบของสิ่งต่างๆ ที่มีต่อกันในภาพรวมด้วย

5. Strategic Thinking
ช่วยให้เวลาแก้ปัญหา ให้ดูเป้าหมายที่ต้องการ เลือกทำสิ่งที่สำคัญและจำเป็น (เรียกว่าทำแบบมีกลยุทธ์ โดยไม่ต้องไปทำทุกอย่าง)

6. Design Thinking
ที่ทำให้แก้ปัญหา ด้วยความเข้าใจคน หรือ ลูกค้าจริงๆ ไม่ใช้แก้แล้ว ไม่ได้ผลที่ต้องการ หรือ ไม่มีใครอยากทำตามวิธีแก้ไขนั้นเลย

การคิดทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ต้องพัฒนาครับ บางส่วนมันก็ซ้อนทับกันบ้าง และต้องใช้หลายทักษะผสมผสานกันไป

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาการคิดนี้ อาจไม่ได้ทำให้เก่งในชั่วข้ามคืน แต่ต้องค่อยๆ ฝึกฝน นอกจากการอบรมแล้ว หัวหน้าเองอาจต้องคอยประคับประคอง ไม่ว่าจะในบทบาทที่ปรึกษา พี่เลี้ยง หรือ โค้ชก็ตามครับ เพราะการพัฒนาทักษะ เปรียบเสมือนการออกกำลังกาย

คงไม่มีใครคิดว่า ทำวันเดียวแล้ว สุขภาพจะดี หรือ กล้ามจะขึ้นทันทีหรอก

จริงไหมครับ?

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้