สื่อสารแล้วไม่ได้ผลลัพธ์ เพราะความผิดพลาดเหล่านี้ New

วันที่: 17 มี.ค. 2565 16:26:10     แก้ไข: 27 เม.ย. 2565 10:58:53     เปิดอ่าน: 3,055     Blogs
การสื่อสารเป็นปัญหาที่เจอบ่อยมากในการทำงานครับ

เพราะตลอดเวลาทำงาน เราต้องสื่อสารกันเยอะมากทั้งการพูดและการเขียน ผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล์ การประชุม การพูดคุยสั่งการ การให้ feedback ฯลฯ 
แค่ที่ยกตัวยอ่างก็มากมาย จนนับไม่หวาดไม่ไหว เผลอๆ ร้อยละ 90 ในงานของหัวหน้า ล้วนต้องใช้การสื่อสารทั้งนั้นครับ

แต่ปัญหาสำคัญตัวหนึ่งที่มักเกิดขึ้น ก็คือ ความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน
ทั้งๆ ที่ตอนสื่อสารนั้น ต่างฝ่ายต่างก็รู้สึกว่าเข้าใจเนื้อหาเป็นอย่างดีแล้วจึงได้แยกย้ายไปทำงานถูกไหมครับ?

ในวันนี้ เรามาดูอุปสรรคในการสื่อสารกัน ว่ามันเกิดจากจุดไหน
ถึงทำให้ การสื่อสารไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งใจ

ผมขอเน้นที่ "ปัจจัยระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง" ก่อนนะครับ ไม่นับช่องทางการสื่อสาร หรือ ปัยจัยแวดล้อมอื่นๆ

อุปสรรคสำคัญที่เกิด จะมีอยู่ 3 ด้านที่สำคัญ คือ

1. การปรุงแต่งสาร จากตัวผู้สื่อสารเอง บางทีก็ไม่ตั้งใจ เช่น การใส่ไข่ จากความเข้าใจในแบบตัวเอง การขาดทักษะ หรือ จากทัศนคติ ความเชื่อของตัวเอง

แต่ในบางครัง การปรุงแต่งนี้ เกิดจากความตั้งใจ ไม่ว่าจะเป็นการปกปิดข้อมูลบางอย่าง การบิดเบือน เพื่อให้ได้ประโยชน์ หรือ ให้อีกฝ่ายรับรู้อย่างที่ต้องการ เห็นชัดๆ เช่น การพยายามสื่อสารให้หัวหน้า หรือ ผู้บริหารรับรู้แต่เรื่องดีๆ ผลงานดีๆ เป็นต้น

2. ตัวกรองจากฝั่งผู้รับสาร (ข้อนี้ เน้นเรื่องกระบวนการทางความคิดความเข้าใจ) เช่น มีประสบการณ์ ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม แรงจูงใจ ฯลฯ ที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้รับ เลือกรับข้อมูล ปรับแต่งข้อมูล ที่สอดคล้องกับของตัวเอง

3. อารมณ์ผู้รับสาร (เน้นเรื่องความรู้สึก) เป็นอีกปัจจัยที่เกิดการบิดเบือนสาร และการตอบสนองได้ เช่น เมื่ออารมณ์ดี อาจทำให้จิตใจเบิกบาน สมองปลอดโปร่ง เข้าใจเนื้อหาได้อย่างดี หรือ ตอบสนองในทางที่ดี กว่าตอนอารมณ์ไม่ดี เคร่งเครียด

สามอย่างนี้เป็นแค่พื้นฐานนะครับ หากผู้อ่านสังเกตเห็นว่า การสื่อสารที่ผ่านมาเป็นแบบ "พูดไปอย่างนึง เข้าใจอีกอย่างนึง"
ก็ลองดูว่าเวลาสื่อสารในงานผิดนั้น เกิดจากข้อไหน บ่อยสุด แล้วปรับแก้ดูนะครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้