อำนาจ 5 ประการ ที่ทำให้หัวหน้างานเป็นที่ยอมรับ New

วันที่: 05 เม.ย. 2565 13:17:39     แก้ไข: 27 เม.ย. 2565 10:24:58     เปิดอ่าน: 2,967     Blogs
การที่คุณจะมีอำนาจเหนือคนอื่นได้นั้น French และ Raven บอกว่าคุณจะต้องสร้างฐานของอำนาจจาก 5 ด้านนี้

อำนาจแบบแรก คือ อำนาจจากการใช้กำลังบังคับ (Coercive) หรือ ให้ในสิ่งที่คนไม่พึงประสงค์ เพื่อให้คนเกิดความกลัว ไม่กล้าฝ่าฝืน วิธีนี้ เช่น การคาดโทษ การปลดออก

อำนาจแบบที่สอง คือ อำนาจจากการให้รางวัล (Reward) จะเป็นด้านตรงข้ามกับข้อแรก คือ ให้สิ่งที่คนอยากได้ เพือให้คนยอมรับ หรือ เป็นบุญเป็นคุณ เช่น ผลประโยชน์ต่างๆ การเลื่อนตำแหน่ง หรือ การมอบหมายงานที่สำคัญให้ทำ

อำนาจแบบที่สาม คือ อำนาจตามกฎหมาย หรือ ตามตำแหน่งหน้าที่ (Legitimate) ที่กำหนดอย่างเป็นทางการ ตัวอย่างเช่น อำนาจของผู้จัดการ ในการสั่งการลูกน้อง หรือ อำนาจของผู้บริหารในการอนุมัติต่างๆ

อำนาจแบบที่สี่ คือ อำนาจจากความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ (Expert) เช่น เป็นกูรูในด้าน Crypto Currency, Metaverse หรือ blockchain, Digital Marketing ฯลฯ เมื่อเป็นผู้รู้ตัวจริง คนก็ย่อมรับฟังและเชื่อถือ

อำนาจแบบที่ห้า ก็คือ อำนาจจากความนิยมชมชอบจากผู้คน (Referent) ไม่ว่าจะด้วยชื่อเสียง บารมี หรือ ความเป็นผู้นำก็ตาม อำนาจแบบนี้ คือ อำนาจที่ทำให้ผู้คนเชื่อมั่น (Trust) และยอมทำตามด้วยความเต็มใจ เช่น Influencer, Net Idol, หรือ ผู้นำที่มี Leadership สูงๆ เป็นต้น

ทีแรกที่มาของอำนาจนั้น ก็มีแค่ 5 ข้อครับ แต่หลังจากนั้นประมาณ 6 ปี Raven ก็ได้เพิ่มที่มาของอำนาจอีกตัว นั่นก็คือ

อำนาจที่เกิดจากข้อมูล (Information) ซึ่งอำนาจแบบนี้ กำลังทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่ข้อมูลถูกใช้เป็นแค่อำนาจในการต่อรอง พอได้ข้อมูลแล้ว ผู้ให้ก็หมดประโยชน์ทันที

แต่ปัจจุบันข้อมูลกลับกลายเป็นขุมทองที่มีความสำคัญในตัวของมันเองแล้ว เพราะใช้วิเคราะห์สิ่งต่างๆ เพื่อตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง และขับเคลื่อนการทำงานได้ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ไม่ต้องเอาไปแลก หรือ ต่อรองกับใครก็ตาม

ทั้งหมดนี้ ก็คือ ที่มาของอำนาจทั้งหก ซึ่งมีที่มาแตกต่างกันไป ซึ่งผู้นำเอง สามารถเลือกได้ว่า อยากให้คนยอมรับเราในแบบไหน

ขอย้ำเหมือนเดิม คือ ถ้าเป็นผู้นำต้องเลือกสร้างอำนาจในเหมาะสมกับบริบท และสถานการณ์ด้วยนะครับ
หากสร้างอำนาจแบบผิดที่ผิดทาง นอกจากไม่มีใครฟัง จะเพิ่มความน่าชังยิ่งกว่าเดิมได้นะครับ

Success vector created by freepik - www.freepik.com

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้