เริ่มเปลี่ยนคำวิจารณ์ให้เป็น Feedback ที่สร้างสรรค์ ทำได้อย่างไร?

วันที่: 05 เม.ย. 2565 11:43:41     แก้ไข: 07 มิ.ย. 2565 20:40:13     เปิดอ่าน: 1,496     Blogs
ใครๆ ก็พูดได้ว่า ควรรับคำวิจารณ์ให้ได้ แต่เชื่อไหมว่า คนพูดก็ทำไม่ได้ ถ้าเกิดกับตัวเอง

วันก่อนพูดถึงฝั่งผู้ให้ feedback ไปแล้ว ว่าถ้าอยากเพิ่มโอกาสให้คนฟังรับคำวิจารณ์นั้นไปปรับปรุง (ซึ่งถือว่าเป็น feedback แบบหนึ่ง) ต้องรู้จักวิธีการคิด และวิธีการพูดเพื่อทำให้คำวิจารณ์นั้นเปลี่ยนกลายเป็น feedback ที่มีคุณภาพมากขึ้น

แล้วถ้าเราต้องเป็นคนรับบ้างล่ะ จะยอมรับ feedback หรือ คำวิจารณ์ได้แค่ไหนกัน? มันไม่ง่ายเหมือนตอนที่เราเป็นฝ่ายพูดนะครับ โดยเฉพาะการรับ feedback เชิงลบ เพื่อให้ปรับปรุงตัวเอง

ที่ว่ายาก เพราะมันจะมาในหลายแบบ ความแรงก็มีหลายระดับ ตั้งแต่ การ complain การด่า การต่อว่า การติเตียน การวิจารณ์ ไปจนถึง การให้ feeedback อย่างสร้างสรรค์ (constructive feedback)

เราเลือกไม่ได้ครับ ว่าจะเจอแบบไหน

แต่...สิ่งที่เราเลือกได้ คือ วิธีการกลั่นเอาข้อมูลดีๆ ออกจากคำพูดเหล่านั้น เพื่อนำไปทำให้ตัวเราดีขึ้นได้ และได้ประโยชน์เต็มๆ แก่ตัวเราเองครับ วิธีการที่ผมใช้ก็คือ

1. ตั้งสติก่อน
นี่เป็นจุดแรกที่หลายคนจะพลาดและตกหลุมพรางทางอารมณ์ เพราะไม่ว่าจะให้ feedback ดีแค่ไหน มันก็ยังเป็นการพูดถึงตัวเราของเรา ซึ่งมันจะเกิดกลไกป้องกันตัวทางจิตใจ (defence mechanism) โดยอัตโนมัติ และจนหาเหตุผลอธิบายว่าตัวเองไม่ผิด เช่น คิดว่าคนพูดอคติ ไม่รู้เหตุผล หรือ เกลียดเรา ฯลฯ

ถ้าแค่เริ่มต้น ไม่คุมสติและมโนไปไกลแล้ว จะไม่เหลือใจไว้รับ feedback เลย เพราะคุณจะหาทางโต้ตอบผู้พูดกลับ หรือ ทำหูดับเพิกเฉยไป สุดท้ายคุณจะไม่ได้โอกาสดีๆ ในการพัฒนาตัวเองเลย

2. พยายามทำความเข้าใจว่า ผู้พูดต้องการสื่ออะไร และ พฤติกรรมไหนที่เป็นปัญหา
ตรงนี้ต้องมีทักษะการจับใจความสำคัญ ซึ่งมันจะช่วยให้ เราแยก "น้ำ" ออกจาก "เนื้อ" ได้

นอกจากการ "ฟังอย่างตั้งใจ" ให้ใช้ "การถามเพื่อเข้าใจ" ด้วย จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกันมากขึ้น ว่าสิ่งใดเป็นปัญหา และ ปัญหานั้นเกิดจากพฤติกรรมไหน เช่น ถ้าเขาบอกว่าคุณทำงานแย่ ลองถามดูว่า สิ่งที่ว่าแย่นั้น คือ อะไร? แล้วมันส่งผลยังไงบ้าง? ตรงนี้จะช่วยให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น เขาพูดมา เราถามกลับได้ไม่ผิดครับ

3. พิจารณาว่า feedback นั้นเป็นจริงหรือไม่ และให้ประโยชน์อะไรกับเราบ้าง
ไม่ใช่ทุก feedback จะเป็นข้อเท็จจริง (fact) หรือมีประโยชน์ แต่ถึงอย่างนั้นยังไง ก็ควรขอบคุณผู้ให้ตามมารยาท
แต่หากดูแล้วเป็นจริงและควรหาแนวทางการแก้ไข

4. คิดวิธีการปรับปรุง
ตรงนี้ อาจใช้การตั้งคำถาม ทำไม 5 ครั้ง (5 why) เพื่อดูสาเหตุว่าเพราะเหตุใดเราถึงทำสิ่งนั้น เพื่อจะได้แก้ปัญหาพฤติกรรมเราที่ราก จึงจะมีประสิทธิภาพ เจอปัญหาแล้ว อย่าลืมเขียนแนวทางการแก้ด้วยนะครับ

5. ติดตามผลการเปลี่ยนแปลง
เมื่อทำตามวิธีแก้ปัญหา หรือ ปรับการกระทำของเราแล้ว ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงด้วย โดยอาจจะสังเกตตัวเอง หรือ ลองสอบถามคนที่ให้ feedback ได้ เพื่อดูว่าเรามีการพัฒนาแค่ไหน ปัญหาต่างๆ ลดลงไหม?

ถ้ายัง ลองวิเคราะห์ปัญหาแบบข้อ 4 อีกครั้ง เผื่อว่าอาจจะแก้ไขผิดจุด
เมื่อทำไปเรื่อยๆ คุณก็จะเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องครับ

ประโยชน์จากการรับ feedback นั้น มันไม่ได้ไปอยู่กับใครเลยนะ เมื่อคุณพัฒนาขึ้น ชีวิตคุณก็ดีขึ้นเองไม่มีใครมาแย่งผลของมันไปจากเราได้
สุดท้ายมันจะกลายเป็นต้นทุนของเรา เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีต่อตัวเอง อย่างน้อยที่สุด ก็ได้ทักษะในการรับ feedback ให้เป็น และไม่ต้องเดือดร้อนจนดิ้นกับคำวิจารณ์ หรือ feedback ที่เข้ามาในชีวิตมากจนเกินไปนัก

เพราะ ชีวิตคนเราเลี่ยงคำวิจารณ์และ feedback ไม่ได้หรอกครับ มันมีมาเรื่อยๆ ไม่ว่าเราจะทำดีแค่ไหน ใกล้ความเพอร์เฟคเท่าไรก็ตาม
อยู่กับมัน กลั่นกรองให้เหลือข้อมูลที่ประโยชน์ เพื่อปรับปรุงตัวเราให้ดีขึ้นกว่าเดิมในทุกๆ วัน ดีกว่าไม่รู้จะไปปรับอะไรเลย แล้วอยู่เฉยๆ แบบเดิมจนไม่พัฒนาน่ะครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้