"งานนี้ฉันพลาดละ มันเป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่มากๆ"
ความรู้สึกนี้ เกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้ว่าจะรู้ว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมชาติมากๆ ที่เกิดขึ้นกับคนเรา
นั่นเป็นเพราะ ทุกความล้มเหลว ย่อมมีผลกระทบ
อาจมี การร้องเรียนจากลูกค้า
ถัดมา อาจได้คำติเตียนจากนาย
ชื่อเสียง ตำแหน่ง เงินทองของเรา อาจจะเสียหาย
แต่เชื่อไหมครับว่า สิ่งที่ทำร้ายจิตใจตัวเรามากที่สุด
เป็นคำต่อว่าของตัวเองที่ก้องกังวานสะท้อนในหัวอยู่ทุกครั้งที่เรานึกถึงมัน
สำหรับหลายๆ คน จำนวนครั้งของคำติเตียนตัวเองนั้น
มันมากยิ่งกว่าจากคนอื่นทั้งหมดรวมกันเสียอีก
.
"ฉันห่วยมากที่ทำงานนี้พลาด"
"ฉันไม่เหลือแรงแก้ไขปัญหานี้แล้ว"
"โลกของฉันคงต้องพังลงในไม่ช้า" ฯลฯ
เมื่อความคิดบอบช้ำ
จิตใจก็เกิดบาดแผลและเป็นรอยร้าว
ร่างกายจึงไม่เหลือเรี่ยวแรงที่จะยืนหยัด
และพาตัวเองไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจ
ท้ายที่สุด ความรู่สึกถึงคุณค่าในตัวเองก็จะลดลง คงไว้ให้เห็นแต่ความซึมเศร้าและหมดไฟในการทำงาน
"When solving problems, dig at the roots instead of just hacking at the leaves." -Anthony J. D'Angelo-
"เมื่อจะแก้ปัญหาให้ขุดไปถึงราก ไม่ใช่แค่ตัดใบ"
รากของความรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนล้มเหลว จึงอยู่ที่ "ความคิด"
"คินสึงิ (Kintsugi)" คือ แนวคิดหนึ่งที่ช่วยเยียวยา จิตใจบอบช้ำที่เกิดจากความล้มเหลว ให้กลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง
เดิมที คินสึงิ คือชื่อของวิธีการซ่อมแซมรอยร้าวเครื่องปั้นดินเผาของญี่ปุ่น ด้วยการใช้สิ่งคล้ายกาวที่เกิดจากการผสมครั่ง เรซิ่น เข้ากับผงโลหะต่างๆ เช่น ทอง เงิน หรือ ทองคำขาว
เมื่อชิ้นส่วนที่แตกร้าวของภาชนะนั้น ถูกประสานเข้ากัน ตำหนิที่เคยน่าเกลียด จะกลับกลายเป็นลวดลายศิลปะที่งดงามอย่างคาดไม่ถึง
เช่นเดียวกัน ความผิดพลาดในอดีตของคน หากรู้จักวิธีประสานรอยร้าวของจิตใจ ช่วงเวลาอันเจ็บปวดของชีวิตนั้น ก็ผันเป็นหนทางพัฒนาศักยภาพที่ตัวเองมีได้ เพียงกาวที่ใช้นั้น ไม่ใช่สสารทางกายภาพแต่เป็นชุดความคิด ที่มีส่วนผสมจาก
แม้ร่องรอยความผิดพลาดล้มเหลวไม่จางหาย
แต่รอยร้าวนั้นจะไม่ใช่ความอับอายอีกต่อไป
และมันกลายเป็นประสบการณ์ที่เราภาคภูมิใจ
เหมือนที่ Sundar Pichai (CEO ของ Google) บอกไว้ว่า “Wear your failure as a badge of honor.”
"จงยืดอกและภาคภูมิใจในความล้มเหลวซะ เพราะมันคือ เหรียญตราแห่งความเกียรติยศของคุณ"
ยังไงก็ตาม จิตใจที่ฟื้นฟู เป็นแค่การกลับมาเริ่มต้นใหม่บนเส้นทางสู่ความสำเร็จเท่านั้น
สิ่งที่ต้องทำถัดไป คือต้องสังเกตว่า สาเหตุที่แท้จริงของความผิดพลาดคืออะไร และมีความสามารถใดที่คุณต้องพัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติมบ้าง เพราะนั่นต่างหากที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายได้ โดยไม่พลาดเรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ อีกต่อไป
จิตใจแตกร้าวแก้ได้ แต่ถ้าแหลกสลายกลายเป็นฝุ่น pm 2.5 อาจแก้ไม่ไหว
การพัฒนาความคิดและจิตใจตัวเอง คือ การนำตัวเอง (Lead Self) เพื่อควบคุมการกระทำของตัวเองให้ถูกต้อง
รายละเอียดหลักสูตร Lead self คลิก
Content & Infographic: อนิรุทธิ์ ตุลสุข
Sources:
https://www.weforum.org/…/japanese-art-principle-failure-s…/
https://brandinside.asia/how-to-heal-yourself-from-failure…/
https://en.wikipedia.org/wiki/Kintsugi
ด่วน ! เราเพิ่มช่องทางอ่านบทความใหม่แล้ว ที่ Linkedin
https://www.linkedin.com/company/coach-for-goal/…
เชื่อหรือไม่ว่า การสร้างบรรยากาศการทำงานที่มีประสิทธิภาพนั้น กลับเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากๆ และไม่สามารถสร้างได้ภายในระยะเวลาอันสั้น เพราะมันเป็นเรื่องของความรู้สึกของแต่ละบุคคลภายในทีมมารวมกัน อีกทั้งการวัดผลการยาก เพราะการสร้างบรรยากาศแบบ Effective Environment ต้องอาศัย ความไว้วางใจซึ่งกันและกันภายในทีม ดังนั้นการบริหารแบบนี้ หัวหน้าโดยส่วนใหญ่ก็จะ รู้ว่าต้องทำ(What) และรู้ว่าต้องทำอย่างไร (How) ด้วย แต่มักจะปฏิบัติจริงไม่ค่อยสำเร็จมากนัก มาดูกันว่าจะต้องทำอย่างไร?
การที่มีทีมงานที่เก่งขึ้น จะช่วยส่งเสริมเป้าหมายด้านการเติบโต (Growth)ขององค์กร แต่อีกสิ่งหนึ่งที่มักถูกมองข้ามไป คือ จิตใจของคน ซึ่งถ้าเขาสามารถทำงานที่รับผิดชอบได้สำเร็จหรือ ยิ่งทำงานยิ่งเก่ง ก็จะช่วยให้คนทำงานรู้สึกดีต่อองค์กรนั้นๆ จน ทำให้เกิด Engagement ต่อองค์กร ซึ่งวิธีที่จะพัฒนาคนให้เก่งขึ้นนั้น หลายคนคิดว่าเป็นความรับผิดชอบของ ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นหน้าที่หลักของหัวหน้างานโดยตรง การพัฒนาผู้นำให้บริหารทีมได้ มีแนวทางดังนี้
จากการบริหารแบบ Diamond Management ซึ่งเป็นวิธีการบริหารที่สร้างความสมดุล ของเป้าหมายองค์กรทั้ง 4 ด้าน ตามที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้ สำหรับในบทความนี้ จะพูดถึง การบริหารแบบ Effective Execution ซึ่งเป็นการบริหาร ที่ทำให้กลยุทธ์ที่กำหนดไว้สามารถนำไปปฏิบัติจริงจนส่งผลลัพธ์ให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยหลักการของการบริหารแบบ Effective Execution มีดังนี้
หนึ่งในการบริหารแบบ Diamond Management คือ การบริหารแบบ “Driving Result” ซึ่งเป็นการบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ด้านการเติบโต (Growth) กับการสร้าง ผลผลิตที่ดี (Productivity) การบริหารแบบนี้ให้ประสบความสำเร็จได้จะต้องพัฒนาผู้จัดการให้เป็นหัวหน้าประเภท Result- Oriented Leader มาทำความเข้าใจในบทความนี้กันว่า หัวหน้าแบบนี้มีลักษณะอย่างไร? และจะพัฒนา ผู้จัดการให้เป็นหัวหน้าแบบนี้ได้อย่างไร?
โลกในปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก จนถึงขนาดว่ามีการให้นิยายของโลกยุคนี้ว่าเป็นโลก VUCA WORLD หรือโลกที่มีความผันผวน ไม่แน่นอนซับซ้อนและคลุมเครือ และต่อมาก็เปลี่ยนคำนิยามอีกว่าเป็นโลคยุค BANI WORLD คือเป็นโลกที่เปราะบางและคาดการณ์อะไรไม่ได้ ซึ่งในอนาคตก็คงมีการเปลี่ยนแปลงคำนิยามนี้อีกเช่นกัน แต่ไม่ว่าโลกจะถูกนิยามว่าอะไร พื้นฐานอย่างหนึ่งของโลกยุคนี้ ก็คือ โลกที่ไม่มีความแน่นอน
นิยามใหม่ของโลกธุรกิจ เปลี่ยนจาก VUCA world เป็น BANI world แล้ว องค์กรควรจะต้องเตรียมความพร้อมในการพัฒนาคนอย่างไร? บุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญไม่ด้อยไปกว่า CEO หรือ ผุ้บริหารระดับสูง ที่จะพาให้องค์กรสามารถรับมือกับความท้าทายในยุคของ BANI World ได้ ก็คือ ผู้นำในระดับกลาง (Middle Management) เนื่องจากผู้บริหารระดับกลาง คือ ผู้นำที่ต้องประสานระหว่างองค์กรและพนักงาน โดยต้องส่งผ่านจุดมุ่งหมายที่องค์กรต้องการจะไป และสนับสนุนการทำงานของทีมงานให้ไปสู่เป้าหมายนั่นให้ได้