บริษัทซอมบี้

วันที่: 28 ม.ค. 2563 14:31:03     แก้ไข: 21 ก.ค. 2563 15:58:13     เปิดอ่าน: 1,814     Blogs
"บริษัทซอมบี้" (Zombie firm) เป็นฉายาของบริษัทไม่สามารถทำกำไร แต่ก็ยังอยู่รอดในธุรกิจได้ แม้ว่าจะอยู่ในแบบครึ่งผีครึ่งคน เป็น Living dead ไปเรื่อยๆ ก็ตาม

งานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ของ IMF นิยาม "บริษัทซอมบี้" ไว้ว่า เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการมากกว่า 10 ปี แต่กำไรของบริษัทไม่พอที่จะจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ของแบงก์ได้ต่อเนื่องกัน 3 ปี

ที่ยังอยู่ได้ มีหลายสาเหตุ บ้างเป็นเพราะการเลี้ยงไข้จากภาครัฐ เพื่อให้ไม่กระทบอัตราการว่างงานของประเทศ บ้างก็เลี้ยงตัวเองจากการนำเงินกู้ใหม่มาโปะ ขายสินทรัพย์ หรือ แม้แต่เพิ่มทุนของกิจการ

ในวงการ Startup ที่ผมเคยอยู่เอง ก็มี zombie Startup เช่นเดียวกัน ซึ่งจะใช้วิธีอยู่รอด ด้วยสร้างภาพลักษณ์ เพื่อล่อหลอกเงินทุนจากนักลงทุน หรือเดินสายแบบนางงามเพื่อประกวดล่ารางวัล และยืดอายุขัยตัวเองต่อไป

ไม่ว่าวงการไหน บริษัทซอมบี้เหล่านี้ เหมือนกันตรงที่ไม่มีความสามารถทางการแข่งขันในตลาด ไม่สร้างผลกำไรทางธุรกิจ หนี้สินก็สูง แต่ก็อยู่รอดได้
สุดท้ายก็สร้างปัญหาต่อเศรษฐกิจเหมือนๆ กัน เช่น การแย่งชิงทรัพยากร ไล่ตั้งแต่แหล่งเงินทุน แรงงาน ฯลฯ จนส่งผลให้ ต้นทุนประกอบการบางอย่างของบริษัททั่วไปต้องสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น และสกัดกั้นโอกาสเติบโตของบริษัทใหม่ๆ ที่มีศักยภาพสูงกว่า

ในที่ทำงานเองก็มี พนักงานซอมบี้ (Zombie employee) ที่ลักษณะไม่ต่างกัน นั่นคือ ไม่สามารถสร้างผลการทำงานที่องค์กรต้องการ แต่ก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ ด้วยกลยุทธ์เฉพาะตัวบางอย่าง

บางที่ก็เรียกคนกลุ่มนี้ว่า Deadwood ซึ่งความหมายไปในทางเดียวกัน นั่นคือ ไม่มีชีวิต ไม่มีแรงจูงใจในการพัฒนาเติบโต แถมเบียดบังทรัพยากรและโอกาสในการเติบโตของพนักงานที่มีศักยภาพสูงกว่าด้วย

ภาระอันหนักอึ้ง จึงมักตกกับหัวหน้างาน ที่ต้องหาวิธีการบริหารจัดการพนักงานซอมบี้เหล่านี้

หัวหน้าบางคนจิตใจดีเลี้ยงไว้ ก็ต้องอุ้มไปเรื่อยๆ เหมือนเอาความเสี่ยงและอันตรายมาไว้กับตัวเองแทน และบากหน้าไปรับบาปยามที่ผลการทำงานของทีมไม่ถึงเป้า

หัวหน้าบางคน เลือกวิธีการเด็ดขาดกว่านั้น เพื่อประโยชน์สุขขององค์กรและสมาชิกทีมโดยรวม แต่ก็ไม่วายตกเป็นข้อครหา และเสียศรัทธาจากสมาชิกที่ไม่เข้าใจสถานการณ์

อ้าว โน่นก็เสี่ยง นี่ก็แย่ แล้วจะให้ทำยังไงดี?

จริงๆ แล้ว คำตอบแบบไหนก็ไม่ผิด เพราะอยู่ที่สถานการณ์

หากอาการไม่หนักนัก การเยียวยาให้วัคซีน และปรับแก้พฤติกรรมก็ทำได้ แต่หัวหน้าต้องชำนาญพอที่จะวิเคราะห์ว่า ผลการทำงานที่ย่ำแย่นั้นเกิดจากปัจจัยใด เช่น ความรู้ความสามารถ หรือ ทัศนคติในการทำงานบางอย่างไม่เหมาะสม จะได้เลือกวัคซีนรักษาได้ถูกต้อง

หากเป็นที่ความสามารถ ก็ส่งเสริมการพัฒนาทักษะเสีย แต่ถ้าเป็นเรื่องทัศนคติ วิธีแก้ก็มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการโค้ช การสร้าง Engagement หรือ การบริหารจัดการที่เพิ่มไฟในการทำงาน เช่น การโอนย้าย หมุนเวียนการทำงาน

แต่ถ้าอาการหนักมาก หนทางในการรับมือ ซึ่งก็ไม่ต่างจากในหนังเท่าไร คือ ส่งซอมบี้ไปสู่ที่ชอบๆ ซึ่งเป็นหนทางเดียว และเป็นสิ่งที่หัวหน้าพึงกระทำด้วย เพราะที่องค์กรจ้างมาก็เพื่อให้บริหารจัดการผลงานของลูกทีม

การจัดการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ คือ สิ่งที่วัดฝีมือของหัวหน้า ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องวิเคราะห์เสียก่อนว่าเป็นเคสไหน และจัดการให้เหมาะสมกับสถานการณ์เท่านั้นเองครับ

อ้อ แล้วอย่าลืมหมั่นเช็คตัวเองเป็นระยะๆ ด้วยว่า เผลอติดเชื้อซอมบี้ไปหรือยังนะครับ!
การพัฒนาความคิดและจิตใจตัวเอง คือ การนำตัวเอง (Lead Others) เพื่อบริหารจัดการทีมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการทำงานที่ดี สร้างความผูกพันในทีมงาน (High Performance Environment & Engagement)
รายละเอียดหลักสูตร
Leadership Development 
คลิก
Content: aniruthT
Photo: RealAKP / Pixabay
Reference:
https://www.weforum.org/…/is-your-colleague-a-zombie-worker/
https://www.prachachat.net/finance/news-390724
https://www.mreport.co.th/…/051-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2…

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment

เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน
ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World)  มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World

โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World) มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ
Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร

สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ

ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles) โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์  ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้
ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles)

โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์ ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้

6  ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน
6 ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน

High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน

ทักษะการคิดจะเพิ่ม ถ้าเริ่มพัฒนา Thinking Mechanism ทักษะการคิด เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับอนาคต และคนทำงานจะอยู่ยากถ้าปราศจากระบบความคิดที่เหมาะสม  กูรูหลายท่านระดับโลกจึงมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันครับว่า ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่จะช่วยได้ ก็คือ การยกระดับระบบการคิด ซึ่งได้แก่
ทักษะการคิดจะเพิ่ม ถ้าเริ่มพัฒนา Thinking Mechanism

ทักษะการคิด เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับอนาคต และคนทำงานจะอยู่ยากถ้าปราศจากระบบความคิดที่เหมาะสม กูรูหลายท่านระดับโลกจึงมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันครับว่า ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่จะช่วยได้ ก็คือ การยกระดับระบบการคิด ซึ่งได้แก่