การบริหารทีม ควรมี Empathy หรือ Sympathy?

วันที่: 24 ก.ค. 2562 11:13:47     แก้ไข: 28 ม.ค. 2563 16:36:38     เปิดอ่าน: 6,183     Blogs

"ถ้าจะให้งานเสร็จ ต้องอย่าไปเห็นอกเห็นใจลูกน้องมากนัก"

เชื่อว่าหลายคนต้องเคยเจอหัวหน้าที่เป็นแบบนี้ ที่เวลาทำงานมักจะเน้นเป้าหมายในงานไว้ก่อน และเชื่อว่า ความเห็นอกเห็นใจ ทำให้รู้สึกสงสารเป็นความรู้สึกที่สร้างอุปสรรคสำคัญต่อการทำงาน และดูเป็นผู้นำที่โอนอ่อนผ่อนตาม ไม่เด็ดขาด และขาดจุดยืน 

ผลที่ตามมา คือ งานอาจสำเร็จจริง แต่ก็ทำให้สูญเสียความไว้ใจจากลูกน้องในทีมไปด้วย

จริงๆ แล้ว ความเห็นอกเห็นใจ มีสองความหมาย

ความหมายแรก คือ ความเห็นอกเห็นใจ ในแบบ Sympathy คือ ความสงสาร คล้อยตามอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น เช่น เมื่อเห็นลูกน้องทุกข์ จะรู้สึกสงสารเห็นใจ จนอาจยืดหยุ่นแนวทางข้อบังคับบางอย่างให้

ส่วนอีกแบบ คือ ความเห็นอกเห็นใจแบบ Empathy ซึ่งความหมายรวมถึง ความเข้าอกเข้าใจทั้งในด้านอารมณ์ (Emotion) และเข้าใจมุมมอง (Perspective) ความคิดของคนอื่น (แม้ว่าอาจไม่เห็นด้วยก็ตาม)

ผู้นำที่มี Empathy เมื่อเห็นลูกน้องทุกข์ จะพยายามรับรู้มุมมองความคิดเขาที่มีต่อสถานการณ์นั้น และนำไปสู่การช่วยเหลือหาหนทางที่เหมาะสมสำหรับทั้งสองฝ่ายเพื่อไปสู่ "เป้าหมาย" ในงานของทีม

Empathy จึงมากกว่าความสงสาร และเป็นคุณลักษณะจำเป็นที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพต่อการบริหารทีมงานในยุคอนาคต ที่ไม่ใช่แค่ทำให้บริหารทีมราบรื่น แต่ทำให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจโดยตรง 

เช่น โครงการอริสโตเติ้ลของกูเกิ้ล ในปี 2017 ที่พบว่าไอเดียสำคัญทางธุรกิจมาจากทีมที่มีสมาชิกหลากหลายและสมาชิกเหล่านั้นมีการเปิดรับมุมมอง และ "พยายามเข้าอกเข้าใจ" ไอเดียของกันและกันมากกว่าทีมที่รวมแต่คนเก่งๆ เพียงอย่างเดียว 

ผู้นำที่มี Empathic Leadership นอกจากทำให้สมาชิกทำงานร่วมกันได้ ยังช่วยเป็น Role model ที่สร้างนิสัย Empathy ให้เกิดกับสมาชิกในทีมแต่ละคน อีกด้วย

Empathy ไม่ใช่ "ความรู้สึก" แต่เป็น "ทักษะ" จึงสามารถฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ การฝึกฝนมันในทุกๆ วันของการทำงานได้ เช่น

1. ทำตัวให้ว่างบ้าง (Be Available) การสละเวลาเล็กน้อย ละสายตาจากจากการตอบไลน์ หรืออีเมล์งานบ้าง แล้วให้ความสนใจต่อคนที่กำลังพูดก็เพียงพอที่จะทำให้คนฟังรู้สึกดีและนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีได้ 

2. ฟังก่อนพูด (Listen First) เมื่อสนทนากับลูกน้อง หัดบังคับตัวเองไม่ให้เผลอเข้า "โหมดการสั่งสอน" หรือ พูดแทรกลูกน้องนั้น (เป็นเรื่องยากมากสำหรับหัวหน้า) 
การเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้เล่าเรื่องราว (Active Listening) คือ เทคนิคหนึ่งที่ทำให้เขาได้ทบทวนความคิดตัวเองอีกครั้ง เพื่อได้คำตอบด้วยตัวเอง โดยที่เราไม่ต้องแนะนำด้วยซ้ำไป คำตอบนั้นจะมีคุณค่ากับตัวเขาเอง และเกิด commitment ในการแก้ไขมากกว่าการใช้คำสั่งอีกด้วย

3. มีส่วนร่วมในงาน (Be Accountable) ใส่ใจในงานหรือปัญหาที่ลูกน้องนำมาปรึกษาก็เป็น Empathy ในรูปแบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบในหน้าที่ นอกจากรับฟังแล้ว ควรนำเรื่องดังกล่าวไปหรึกษา หรือตรวจสอบปัญหาจนกว่ามันจะได้รับการแก้ไข ลูกน้องจะรู้สึกว่าหัวหน้ารับฟังปัญหาในงานจริงๆ และนำไปสู่ความไว้เนื้อเชื่อใจ 

ผู้นำจึงไม่ควรมีแต่ความ "รู้สึก" เห็นอกเห็นใจแบบ Sympathy แต่ควรฝึกใช้ "ทักษะ" ความเห็นอกเห็นใจในแบบ Empathy ให้ชำนาญ จึงจะพบการเปลี่ยนแปลงของทีม ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น บรรยากาศการทำงานที่ไว้วางใจกัน ความตรงไปตรงมา การเปิดรับไอเดียซึ่งกันและกัน 

จากนั้นสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า ซึ่งก็คือ ผลการปฏิบัติงานของทีมและองค์กรที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม


การพัฒนาความคิดและจิตใจตัวเอง คือ การนำตัวเอง (Lead Others)
เพื่อบริหารจัดการทีมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการทำงานที่ดี สร้างความผูกพันในทีมงาน (High Performance Environment & Engagement)

รายละเอียดหลักสูตร Leadership Development 
คลิก


Content: อนิรุทธิ์ ตุลสุข


ด่วน ! เราเพิ่มช่องทางอ่านบทความใหม่แล้ว ที่ Linkedin
https://www.linkedin.com/company/coach-for-goal/…

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้