เมื่อ "ไม่พึงพอใจในงาน" พนักงาน ก็จะมีอาการ 4 แบบนี้

วันที่: 22 ธ.ค. 2564 16:50:16     แก้ไข: 22 ธ.ค. 2564 16:55:46     เปิดอ่าน: 1,493     Blogs
พนักงานไร้ใจ เค้าจะเริ่มทำอะไรกันบ้าง?
 
ความพึงพอใจในงาน หรือ Job Satisfaction นั้น ถือว่าเป็นทัศนคติที่พนักงานมีต่อตัวงาน หรือ องค์กรครับ
ใครที่เคยเรียนสายพัฒนาบุคคล หรือ องค์กรมา จะจำได้ดีว่า นี่เป็นหัวข้อยอดฮิตตอนทำวิทยานิพนต์
จนอาจารย์ที่ปรึกษาหลายท่าน ถึงกับต้องออกโรงปรามเลยว่าเอาตัวแปรอื่นบ้าง เพราะมันเยอะและซ้ำกันมากจริงๆ
 
ความน่าแปลกใจ คือ งานวิจัยเยอะมาก แต่ปัญหาเรื่องนี้ยังมีมาตลอด และหากพนักงานมีความพึงพอใจของพนักงานน้อยละก็ มันมักจะหนีไม่พ้น 4 ข้อใหญ่ๆ นี้ครับ
 
1. ความท้าทายที่ลดลง เพราะรู้สึกว่างานที่ทำไม่ส่งเสริมให้ใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ หรือ องค์กรไม่มีเส้นทางให้เค้าได้เติบโต
2. ค่าจ้าง อาจไม่เหมาะสม ไม่ยุติธรรม หรือ รู้สึกว่าไม่เป็นธรรม
3. สภาพแวดล้อม เกิดความไม่สะดวกในการทำงาน ไม่ปลอดภัย หรือ ทรัพยากรต่างๆ ไม่เอื้ออำนวย
4. เพื่อนร่วมงาน ที่อาจเรียกว่า "เพื่อน" ได้ไม่เต็มปากนัก เพราะ ไม่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูล หนำซ้ำ อาจคอยทิ่มแทงกันยามเผลอ

ทั้งสี่ด้านนี้ อาจเรียกรวมๆ ให้เข้ายุคสมัยได้ว่า เป็น Employee Experience หรือ ประสบการณ์ที่ทุกด้านที่พนักงานได้รับจากการทำงานในองค์กรไม่ค่อยดีนัก
 
เมื่อเกิดความ "ไม่พึงพอใจในงาน" พฤติกรรมที่ตามมาก็จะเกิดตามความคิดที่มีครับ โดย Rusbule & Lowery ได้แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
 
1. การยอมรับ หรือ เชื่อมั่น (Loyalty) แนวนี้มักเกิดกับคนที่ยอมปรับความคิด ให้เชื่อว่า องค์กรมีความจำเป็นบางอย่างจึงทำให้เกิด สิ่งที่ทำให้เขาไม่พอใจ เช่น หากค่าจ้างไม่เป็นธรรม ก็คิดว่า คงเป็นเพราะองค์กรมีเหตุผลบางอย่าง มีเหตุจำเป็นต้องคุมค่าใช้จ่าย เป็นต้น
2. การละเลย (Neglect) พนักงาน เกิดความเพิกเฉย ละเลย มาสาย ทำงานไม่เต็มที่ เหมือนคนไร้วิญญาณ หรือ เป็นซอมบี้ประจำออฟฟิศ อยู่ไปวันๆ
 
สองแบบแรกนี้ คือ กลุ่มคนที่แสดงพฤติกรรมเชิงรับ (Passive) ออมแรง ไม่แสดงออก
แต่กลุ่มคนอีกสองแบบหลัง นี่แหละครับ คือ กลุ่มออกตัวแรง ไม่ห่วงล้อฟรีละ นั่นคือ
3. เรียกร้อง (Voice) คือ มีการเรียกร้อง หรือ ตั้งคำถาม ต่อหัวหน้า หรือ ผู้บริหาร เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในงาน และปรับปรุงเสีย โดยอาจออกมาในรูปแบบสหภาพ ก็ได้
4. ออก (Exit) คือ อันนี้คงไม่ต้องอธิบายเยอะ ออก ก็ คือ แยกทางกับบริษัท เช่น เริ่มหางานใหม่ หรือ ลาออกเลย
 
ทั้งหมดนี้ ก็คือ 4 รูปแบบ พฤติกรรมของพนักงานที่ไร้ใจกับงานและองค์กรแล้ว
ซึ่งเวลาสิ้นปีแบบนี้ เราก็อาจจะได้เห็นพฤติกรรมเหล่านี้กันชัด โดยเฉพาะแบบที่ 4 เพราะ ได้รับโบนัสกันเรียบร้อยแล้วครับ 555
 
เนื่องจากมันเป็นแนวคิดยุคคลาสสิก เมื่อโลกเราเปลี่ยนไป ความซับซ้อนของพฤติกรรมพนักงานก็มากขึ้น เกินกว่าที่ Rusbule & Lowery ว่าไว้ละ เช่น พนักงานบางคนอาจบ่นว่าจะออก แต่ไม่เคยออกสักที จนใกล้เกษียณ หรือ บางคนไม่ออก แต่ปล่อยข่าวลือเสมอ เพื่อให้องค์กรเสียหาย ฯลฯ
 
ผู้อ่านพอจะช่วยผมจัดได้ไหมครับ
ว่าคนพวกนี้ ควรอยู่ในตรงไหนของเมทริกซ์ในภาพเอ่ย?

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Leadership Mindsets ส่วนที่มองไม่เห็น แต่ควรเน้นในการพัฒนาผู้นำ หลายคนมุ่งพัฒนาผู้นำ เฉพาะส่วนที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ ทักษะการบริหารงาน จริงๆแล้ว ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ส่วนที่เป็น Leadership Mindsets เพราะทำให้ผู้นำเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ยิ่งหากได้รับการพัฒนาทักษะผู้นำ Leadership Skills เสริมด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ทีมงานไว้วางใจและเชื่อใจ ทั้งในความสามารถและภาวะผู้นำ จนพร้อมทำงานให้อย่างมุ่งมั่นเต็มใจ
Leadership Mindsets ส่วนที่มองไม่เห็น แต่ควรเน้นในการพัฒนาผู้นำ

หลายคนมุ่งพัฒนาผู้นำ เฉพาะส่วนที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ ทักษะการบริหารงาน จริงๆแล้ว ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ส่วนที่เป็น Leadership Mindsets เพราะทำให้ผู้นำเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ยิ่งหากได้รับการพัฒนาทักษะผู้นำ Leadership Skills เสริมด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ทีมงานไว้วางใจและเชื่อใจ ทั้งในความสามารถและภาวะผู้นำ จนพร้อมทำงานให้อย่างมุ่งมั่นเต็มใจ

Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment

เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน
ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World)  มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World

โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World) มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ
Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร

สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ

ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles) โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์  ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้
ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles)

โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์ ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้

6  ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน
6 ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน

High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน