จาก VUCA world สู่ BANI world

วันที่: 24 ม.ค. 2565 16:22:55     แก้ไข: 19 ม.ค. 2566 14:09:01     เปิดอ่าน: 36,836     Blogs

หมดยุค VUCA ยุค BANI มาแล้ว?

ก่อนช่วงวิกฤตเล็กน้อย VUCA World หรือยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วถูกพูดถึงอย่างมาก เพราะ เป็นช่วงคาบเกี่ยวจากการเข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด และส่งผลกระทบหลายด้าน
หนึ่งในนั้น คือ ภาคธุรกิจ ที่เกิดการล้มล้างรูปแบบธุรกิจเดิมๆ หรือ Disruption นั่นเอง
ทีนี้แหละครับ หลังเกิดวิฤตไม่นาน เหมือนว่า VUCA World ไม่สามารถอธิบายลักษณะของโลกใบใหม่ได้อีกแล้ว แม้ว่าโลกเราก็ยัง ผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และ คลุมเครือ เหมือนเดิม

BANI World คือ?

เนื่องจากความเร็วและความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากกว่าเดิมหลายเท่า
คำว่า BANI World จึงถูกคิดค้นโดย Jamais Cascio โดยต่อยอดจากแนวคิดทางสังคมวิทยา Liquid Modernity (ที่ว่าทุกอย่างเป็นของไหล ที่คลุมเคลือ ไม่แน่นอน) ของ Zygmunt BaumanBANI World อธิบายลักษณะของโลกยุคนี้ว่า

Brittle เป็นโลกที่เปราะบาง

หมายถึง แทบทุกอย่าง มาเร็วไปเร็ว ความสำเร็จในโลกธุรกิจหลายตัวไม่อาจอยู่คงทนถาวร แถมยังแตกหักได้ง่าย อาจถูก disrupt ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี รูปแบบธุรกิจ ฯลฯ
ตัวอย่างเช่น แม้ว่าตอนนี้ blockchain กำลังมาแรง แต่หากมีเทคฯ ที่ดีกว่าที่พร้อมใช้งานได้จริงทันที (หรือแม้แต่ ควอนตัมคอมพิวเตอร์) ระบบทั้งหมดก็อาจจะจบทันที หรือ ก่อนหน้านี้ธุรกิจร้านซักผ้าอัตโนมัติอาจจะกำลังมาแรง จนมีเฟรนำชส์ ขยายสาขาอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเกิดโรคระบาด ก็อาจเปลี่ยนพฤติกรรมคนให้กลัวที่จะใช้บริการนี้ ร่วมกันกับคนอื่นๆไปเลยก็เป็นได้

Anxiety-inducing หรือ Anxious เป็นโลกที่เต็มไปด้วยความกังวล

เพราะอะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ ทุกทางเลือกอาจจะไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง สามารถล้มเหลวได้ อาจทำให้เกิดความลังเล ชะงักงัน ไม่กล้าตัดสินใจ หรือ ความสิ้นหวัง หรือ ภาวะ learn helplessness เพราะพลาดอยู่เรื่อยๆได้ง่าย

Nonlinear หรือ เป็นโลกที่ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆไม่เป็นเส้นตรง

เหตุและผล อาจไม่แปรผันตามกันชัดเจนเหมือนเดิม มีปัจจัยแทรกซ้อน ตัวแปร สถานการณ์อื่นๆ มาส่งผลกระทบแบบที่เราไม่รู้ หรือ ส่งผลล่าช้า ดีเลย์ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ หรือ ทำนายได้ ระบบตรรกะแบบเดิมๆ อาจถูกทำให้รวนได้
ตัวอย่างง่ายๆ ที่สุด คือ วิกฤตโรคระบาดนี้เลยครับ ที่เราพยายามคาดการณ์หลายที ว่าจะจบช่วงนั้นช่วงนี้ เพราะ ยึดหลักระบาดวิทยา และตามหลักเราควรสร้างให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้ในปีแรกเลย แต่ทว่า....ก็เป็นอย่างที่เราเห็นนั่นแหละครับ

Incomprehensible หรือ โลกที่เข้าใจได้ยาก

"มันเกิดได้ไง (วะ)?" นี่อาจเป็นคำอธิบายเชิงอารมณ์ได้ดีที่สุด คือ มันจะงงๆ หน่อยๆ ว่า เหมือนจะเข้าใจแต่ไม่เข้าใจ ซึ่งบางครั้งแม้แต่การใช้ big data เข้ามาช่วยอาจทำให้งงกว่าเดิมก็มี เพราะเกิดภาวะ "ข้อมูลท่วมหัว เอาตัวไม่รอด" (Information Overload)
 

บทสรุป

อ่านถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วมันต่างจากยุค VUCA ยังไง ทำไมถึงต้องขยันสร้างคำใหม่ๆ มาด้วย เอาตรงๆ ในมุมมองของผม VUCA WORLD และ BANI WORLD มันก็คาบเกี่ยวกันนั้นแหละ บางอย่างของ VUCA ก็เป็นผลทำให้เกิด BANI ด้วย (ลองดูภาพ Infographic ด้านล่างบทความประกอบ) จึงขอสรุปง่ายๆ ว่า

BANI เป็นมากกว่าลักษณะของ "สถานการณ์" (ผันผวน,ไม่แน่นอน,ซับซ้อน,คลุมเครือ) แต่เป็นการมองไปถึง ผลกระทบด้าน "อารมณ์ของคน" ด้วย เช่น ความกังวล, ความหดหู่, ความสับสน ฯลฯ (เพราะทาง Jamais Cascio มาสายมานุษยวิทยา ซึ่งเน้นการศึกษาพฤติกรรมคนด้วย)

มันคือ การอธิบายเพื่อให้อะไรๆ มันชัดเจนขึ้น เพื่อใช้เป็น framework ใหม่ในการจัดการด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ หรือ การบริหารพัฒนาคน เช่น เมื่อรู้ว่า อะไรๆ เปราะบาง ด้านกลยุทธ์ ก็ต้องทำให้เกิดความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้เร็ว กระจายความเสี่ยงได้ ด้านคน ก็ควรจะสร้างให้เกิด mindset แบบล้มแล้วลุกให้ไว เพราะคุณมีโอกาสจะเจ๊งได้ทุกเมื่อ เป็นต้น

ซึ่งแนวทางเหล่านี้ ผมขอมาอธิบายแบบลงลึกในโพสหน้านะครับ

วันนี้ขอแค่ทุกท่านเข้าใจว่า BANI คืออะไร? แล้วจะสร้างคำนี้มาทำไม? ก็ดีใจแล้ว เพราะ ไม่อยากให้มันเป็น Buzzword หรือ คำพูดแบบเท่ๆ คูลๆ ในวงสนทนา ผ่านมาแล้วผ่านไป แต่เราน่าจะเอาคุณค่าตามเจตนาของผู้ประดิษฐ์คำนี้ มาใช้วางแผนพัฒนางานและคนกัน จริงๆจังๆ ดีกว่าครับ

แล้วตอนหน้ามาคุยกันว่า รู้ BANI WORLD แล้วเอาไปทำอะไรได้บ้าง ฝากติดตามด้วยนะครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 
ต้องการพัฒนาผู้นำ ให้รับมือ BANI world มาเป็นเพื่อนกับเรา และรับคำปรึกษาและบริการในการพัฒนาคนของคุณได้อย่างตรงความคาดหวังได้ที่นี่

 
เพิ่มเพื่อน

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้