ทำไมผู้นำยุคใหม่ ต้องใช้ Inclusive Leadership?

วันที่: 10 มี.ค. 2565 14:21:37     แก้ไข: 07 ก.พ. 2567 17:13:37     เปิดอ่าน: 3,257     Blogs
โลกยุคปัจจุบัน มีความซับซ้อนมากทำให้ องค์กรต้องการไอเดียการทำงานจากพนักงานมากกว่าเดิม
ความแตกต่างไม่ว่าจะเป็น เพศ วัย กระทั่งมุมมองและความคิด จึงเป็นพลังสำคัญที่จะทำให้ทีมงานมองได้อย่างรอบด้าน และระดมหนทางเอาชนะอุปสรรคในการทำงานออกมาได้


แต่ต้องทำอย่างไร ให้ทีมงานสามารถโอบรับความ "แตกต่าง" นั้นได้ แต่ไม่ทำให้ทีม "แตกหัก" ไปเสียก่อน เอาแค่เรื่องวัย เรื่อง Gen อย่างเดียว นี่ก็ทำเอาคนในทีมปวดหัวมากแล้วครับ


แล้วยิ่งต่างหลายด้านขนาดนั้น แทนที่จะได้ "พลัง" ทีมคงจะ "พัง" ไปก่อนแน่แท้
 

คำตอบของเรื่องนี้ ก็คือ ทีมจะต้องมีผู้นำที่สามารถ "หลอมรวมใจ และผสานให้ทีมเป็นหนึ่งเดียว" ได้ หรือ ที่เรียกภาษาอังกฤษแบบเท่ๆ ว่า Inclusive Leader


นี่ไม่ใช่คำพูดลอยๆ เพราะงานวิจัยของ Havard Business Review (HBR) เค้าเคลมเลยนะครับว่า ทีมงานที่มีผู้นำ inclusive leader นั้น จะมีผลงานที่ดีกว่าปกติ ถึง 17% นอกจากนี้ 20% ของกลุ่มตัวอย่างนี้ บอกว่า การตัดสินใจมีคุณภาพมากขึ้น และ อีก 29% บอกว่าเกิดการร่วมแรงร่วมใจที่ดีขึ้นกว่าเดิม


ดังนั้น จึงมีการศึกษาต่อไปอีกว่า ผู้นำที่จะ "หลอมรวมใจ และผสานให้ทีมเป็นหนึ่งเดียว" ได้นั้น จะต้องมีคุณลักษณะ 6 อย่างที่เด่นๆ ก็คือ
 

1. Visible commitment ตั้งใจผลักดัน​:

ต้องตั้งใจผลักดันให้เกิดความหลากหลายจริงๆ ไม่ใช่แค่พูดเอาหล่อ ๆ สวยๆ ตามสมัยนิยม
นอกจากนั้น ต้องการท้าทายสถานะเดิม ความเคยชินเดิม และผลักดันให้คนในทีมเกิดความรับผิดชอบใจเรื่องการยึดเอาความหลากหลายและผสมผสานกันเป็นเรื่องสำคัญด้วย
 

2. Humility ความนอบน้อม :

ผู้นำที่จะทำการหลอมหัวใจได้ จะไม่โอ้อวดเรื่องความสามารถตนจนเกินไป ยอมรับความผิดพลาด และ สร้างพื้นที่ให้คนอื่นๆ อยากที่จะมีส่วนร่วมช่วยสร้างผลงาน
 

3. Awareness of bias ตระหนักถึงความลำเอียง :

ผู้นำจะรู้ตัวถึงจุดบอดของคน (ที่พวกเขาอาจมองไม่เห็นตัวเอง) และ ช่องโหว่ในระบบ และต้องทำงานหนัก เพื่อปรับปรุงให้ไม่เกิดความลำเอียงในเรื่องความหลากหลาย และสร้างระบบที่เน้นเรื่องความสามารถของคนจริงๆ
 

4. Curiosity about others มีความสนใจใคร่รู้: 

ความสนใจใคร่รู้นี้ (ที่ไม่ใช่สอดรู้สอดเห็น แนว ส....ใส่เกือก หรือ จ้องจับผิด) ความหมายคือ ต้องแสดงให้เห็นถึงการรับฟัง (open mindset) และความสนใจใคร่รู้ในมุมคนอื่นๆ อย่างลึกซึ้ง ฟังอย่างตั้งใจ และไม่ด่วนตัดสิน เพื่อให้เกิด ความเข้าอกเข้าใจคนอื่นๆ รอบตัว (Empathy)
 

5. Cultural Intelligence ความฉลาดทางวัฒนธรรม :

ใส่ใจเรื่องวัฒนธรรมอื่นๆ และพยามปรับตัวตามความจำเป็น (ในมุมมองทางสังคมวิทยานั้น การเคารพวัฒนธรรม คือ การไม่ด่วนตัดสินผู้อื่น และเคารพผู้อื่นในแบบที่เขาเป็นนั่นเอง)
 

6. Effective collaboration ความร่วมมือร่วมใจอย่างมีประสิทธิผล :

ผู้นำต้องรู้วิธีการมอบหมายงานในแบบ empower (ไม่ใช่แบบสั่งการอย่างเดียว แต่ต้องให้อิสระการตัดสินใจในงานตามสมควรด้วย เพื่อให้สมาชิกทีมฝึกการตัดสินใจและเป็นเจ้าของงานอย่างแท้จริง)


นอกจากนี้ ต้องใส่ใจเรื่องความคิดที่แตกต่างกันของทีม คือ ให้มีการโต้แย้ง โตเถียงได้ และให้พื้นที่ปลอดภัยทางจิตวิทยาด้วย (Psychological Safety)
ซึ่งเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆ สร้าง เพราะหลายครั้งหลายที่ ยังมีวัฒนธรรมการทำงานแบบ "กลัวซวย" ครอบงำอยู่ ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัยหากคิดต่าง หรือ ทำผิดพลาด
หากทำได้ก็จะทำให้ทีมเคารพความคิดกันในแบบ ไม่เออออ ห่อหมกตามๆ กัน พี่ว่าดี น้องว่าใช่ เกรงใจแบบผิดๆ จนเกิดความคิดแบบ group think
แต่เป็นการเคารพ การโต้แย้ง (ที่มีเหตุผล) ก็จะช่วยทำให้งานของทีมพัฒนาไปได้ไกลกว่าครับ


หากผู้นำใส่ใจ และพัฒนาคุณลักษณะที่ว่าแล้ว ทีมงานก็จะมีความแตกต่างที่สร้างพลัง เหมือนดัง Avenger Team ได้
ไม่ใช่มีแต่คนเหมือนๆ กัน แบบเหล่าสมุน Stromtrooper แล้วมุ่งมั่นทำงานตามคำสั่ง หรือ JD (job discription) ให้จบๆไปวันต่อวัน
ในโลกยุคใหม่ ต้องใช้พลังฮีโร่แบบทีมเท่านั้นครับ จึงจะเอาชนะอุปสรรคจำนวนมหาศาลที่รอท้าทายองค์กรอยู่ได้ ขอแค่มีผู้นำที่รวมใจ รวมทีมสปิริตให้ได้ ก็เหมือนได้ชัยชนะไปครึ่งทางแล้วครับ
 
จะพัฒนา Inclusive Leadership ได้ต้องเริ่มจากการมีพื้นฐานภาวะผู้นำที่เหมาะสม การพัฒนา Leadership Fondation จึงมีความจำเป็นมากๆ ครับ

หากท่านใดสนใจรายละเอียดของการพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership) สามารถ Download เอกสาร หรือ สามารถขอคำปรึกษาเบื้องต้นได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่นี่ 
  
        เพิ่มเพื่อน    

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้