5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

วันที่: 18 ม.ค. 2567 18:09:28     แก้ไข: 02 ก.พ. 2567 18:13:03     เปิดอ่าน: 837     Blogs
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ทำให้คนทำงานตกใจอีกแล้ว ไม่เหมือนช่วง แรกๆ ประมาณ 4-5 ปีก่อน ที่ทั้งองค์กรและคนทำงานตื่นตกใจและหวาดหลัวว่าจะโดนดิสรัปต์เมื่อไร และมีเทคโนโลยีไหนที่ทำลายธุรกิจ จนบริษัทต้องล้ม หรือ คนโดนปลดฟ้าผ่า ไม่ทันตั้งตัวกัน
แต่ในความไม่น่ากลัวนั้น องค์กรและคนทำงานเองก็ควรไม่ประมาท

โดยเฉพาะหัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ


5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที เพื่อสร้าง High-Performance Environment ได้แก่

1. สื่อสารวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน (Clear Vision)
ไม่เพียงแต่ การสื่อสารเป้าหมายปลายทางที่องค์กรต้องการคืออะไร (What) แต่รวมถึงวิสัยทัศน์ในการทำงานระดับทีมของเราด้วย และหากทำได้ดีจนถึงระดับที่ว่า สร้างให้สามาชิก "อิน" กับเป้าหมายนั้นได้ ว่าเราทำเป้าหมายนี้ไปทำไม (Why)

บรรยากาศแบบช่วยกันทำงานเต็มที่ High-Performance Environment ก็จะเกิดขึ้น โดยที่หัวหน้าไม่ต้องมาจิก รีดผลงาน และบังคับให้ทำงานเอาเป็นเอาตาย

2. เชื่อมั่นในฝีมือลูกน้องให้มากขึ้น (Empowerment)
และให้การสนับสนุนด้านทรัพยากรที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น Hard resources (เครื่องมือ งบประมาณ ฯลฯ) หรือ Soft resources (คำแนะนำ, Feedback และ การพัฒนา) สมาชิกก็จะเกิดแรงจูงใจในการทำงานและเป็นเจ้าของงาน (ownership) มากกว่าเดิม เพราะเป็นธรรมดา มนุษย์ทุกคน (ที่ mindset ดี) ย่อมมีแรงจูงใจ อยากพิสูจน์ตนเอง และทำสิ่งต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายอยู่แล้ว

ตรงกันข้าม หากหัวหน้ายังคงทำงานแบบยุคก่อน ที่คอยตัดสินใจทุกเรื่องยิบย่อย ย่อมเกิดความล่าช้า ไม่ทันต่อความไวของโลกที่เปลี่ยนรวดเร็ว หรือ แม้แต่ขาดโซลูชั่นใหม่ๆ ที่เหมาะสมโลกยุคใหม่อีกด้วย

3. เปิดใจรับฟังและสื่อสารแบบเคารพกัน (Open Communication)
อันนี้เป็นตัวช่วยที่ดียิ่งสำหรับหัวหน้าเลยครับ การรับฟังซึ่งกันและกันทำให้ทีมงาน มีเซฟโซนในการนำเสนอไอเดีย ความคิดเห็น ตลอดจนฟีดแบ็กกันได้แบบไม่ต้องกลัวจะโดนแทงหลังกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ตามมา คือ การพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง และ นวัตกรรมต่างๆ ที่ทำให้งานดีขึ้นในทุกๆวัน

การสื่อสารแบบเปิดใจนี้ ช่วยสร้าง ความไว้วางใจในทีม ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากๆ ของการสร้างทีมทำงานที่เยี่ยมยอด ตามแนวคิดของ Patrick Lencioni อีกด้วยครับ

4. อย่าลืมที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continuous Learning)
ในยุคเดิมหลายท่านอาจคุ้นกับแนวคิดของ Learning Organization ของ Peter Senge ที่พยายามสร้างองค์กรให้มีวัฒธรรมของการเรียนรู้ ในปัจจุบันเรายิ่งเห็นความสำคัญของการเรียนรู้มากกว่าเดิม และไม่ใช่แค่องค์กรฝ่ายเดียวที่ต้องมีบทบาทในการพัฒนาคน แต่เราจำเป็นต้องขยายผลไปถึงการสร้างให้แต่ละคนมีทัศนคติที่มองเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ Growth Mindset จึงเป็นแนวคิดที่เข้ามามีบทบาทสำคัญมาก

หัวหน้าจึงต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี และเพิ่มบทบาทการเป็นผู้สนับสนุน (Facilitator หรือ Coach) จึงจะช่วยให้ทีมงานเติบโตไปพร้อมกับองค์กรได้

5. ต้องรู้จัก การให้การยอมรับและให้รางวัล (Recognition and Reward) 
พยายามอย่าเป็นหัวหน้าที่ปากหนัก ถ้าทีมงานที่มีการกระทำสอดคล้องกับเป้าหมายด้วย ต้องมองให้เห็นคุณค่าและรู้จักชมเชยเขา อันนี้เป็นกลไกทางจิตวิทยาง่ายๆ แต่เป็นกลยุทธ์ที่หัวหน้าหลายคนมักหลงลืมหรือพลาดไป จนทำให้น้องในทีมเกิดทัศนคติในทำนอง "ทำดีเสมอตัว ทำชั่วโดนด่า" ซึ่งผลจากการคิด หรือ ทัศนคติแบบนี้ ก็จะทำให้เกิดพฤติกรรมที่ตามมา คือ ทำงานไปวันๆ เซฟๆ พอ แล้วการทำงานอย่างมีไฟ จะเกิดจากทัศนคติแบบนี้ได้อย่างไรล่ะครับ?

อย่าลืมนะครับว่า High Performance Environment แตกต่างจาก Productive Environment เพราะมีเรื่อง จิตใจคน ด้วย
พลังใจนี้ ไม่ได้เกิดจากการเน้นเป้าหมายปลายทางอย่างเดียว แต่จะเกิดในระหว่างการเดินทางไปเป้าหมาย ซึ่งก็คือ การดูแลการทำงาน การนำทีม การดูแลและปรับทีมได้เหมาะสมของหัวหน้าที่มีภาวะผู้นำนั่นเองครับ

พัฒนาผู้นำเพื่อสร้างบรรยากาศในการทำงานให้เหมาะสม


ต้องทำให้หัวหน้าเป็น Environment Master ซึ่งการพํฒนาผู้นำนี้ จะเน้นการสร้างผู้นำตามจุดมุ่งหมายขององค์กรที่มุ่งเน้น การสร้างความผูกพันของพนักงาน (Engagement) และ เสถียรภาพขององค์กร (Stability)

ผู้นำในรูปแบบนี้จะมีคุณลักษณะ คือ เป็นผู้นำที่ทำให้ทีมมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน พยายามเข้าใจทีมงานอย่างสม่ำเสมอ บริหารไม่ให้เกิดความขัดแย้งภายในทีม สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการพัฒนาผู้บริหารในองค์กรให้มีคุณลักษณะแบบนี้ จึงต้องมีแนวทางการพัฒนาซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ
  1. การพัฒนาทัศนคติที่เหมาะสม ด้วย (Leadership Mindset)
  2. การพัฒนาความสามารถตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการ (Leadership Capability)
  3. เส้นทางการพัฒนาที่ส่งเสริมให้เกิดผลลัพธ์จริง (Following-up)
หากท่านใดสนใจรายละเอียดของการพัฒนาผู้นำ แบบ Environment Master ซึ่งเป็นรูปแบบผู้นำตามแนวคิด Leading with Purpose นี้ สามารถ Download เอกสาร หรือ สามารถขอคำปรึกษาเบื้องต้นได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่นี่ 
  
        เพิ่มเพื่อน    

บทความและภาพกราฟฟิค

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้

Personal Values ช่วยพัฒนาผู้นำในองค์กรได้อย่างไร? หัวหน้าแต่ละคนบริหารต่างกัน ส่วนหนึ่งเกิดจาก "ค่านิยมส่วนบุคคล" (Personal Values) ซึ่งก็คือ ความเชื่อที่เกิดจากประสบการณ์ ที่หล่อหลอม เรียนรู้ และยึดถือ ความเชื่อนั้นว่าเป็นจริง เป็นสิ่งที่ดีสำหรับชีวิตตัวเอง โดยทั่วไปค่านิยมส่วนบุคคลนั้น มี 2 ระดับ คือ
Personal Values ช่วยพัฒนาผู้นำในองค์กรได้อย่างไร?

หัวหน้าแต่ละคนบริหารต่างกัน ส่วนหนึ่งเกิดจาก "ค่านิยมส่วนบุคคล" (Personal Values) ซึ่งก็คือ ความเชื่อที่เกิดจากประสบการณ์ ที่หล่อหลอม เรียนรู้ และยึดถือ ความเชื่อนั้นว่าเป็นจริง เป็นสิ่งที่ดีสำหรับชีวิตตัวเอง โดยทั่วไปค่านิยมส่วนบุคคลนั้น มี 2 ระดับ คือ