BANI WORLD นิยามโลกใบใหม่ ใช้พัฒนาผู้นำองค์กรอย่างไร? New

วันที่: 21 พ.ย. 2565 12:06:38     แก้ไข: 18 ม.ค. 2566 13:12:41     เปิดอ่าน: 15,635     Blogs
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกปัจจุบัน เกิดจากปัจจัยหลายด้านซ้อนทับกัน ทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคน

VUCA World เคยเป็นแนวคิดที่อธิบายสถานการณ์โลกยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเคลือ จนทำให้การตัดสินใจต่างๆ เป็นได้ยากลำบาก เกิดความชะงักงันในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ

เมื่ออัตราเร็วของการเปลี่ยนแปลงมีมากขึ้น ผลกระทบดังกล่าวก็ยิ่งทวีความรุนแรง ไม่เพียงต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่รวมถึงสภาพจิตใจของพนักงานที่ต้องทำงานในโลกแห่งความสับสนอลหม่านนี้ด้วย ในการพัฒนาองค์กรจึงได้นิยามโลกใบใหม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเฉพาะเจาะจงยิ่งกว่าเดิม


BANI World นิยามใหม่ในโลกใบเดิม 

ฺBANI WORLD เป็นนิยามใหม่ของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกที่อธิบายมากกว่าลักษณะสถานการณ์ที่โลกต้องเผชิญ แต่รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากภาวะดังกล่าว ทั้งในมิติขององค์กรและความรู้สึกของบุคลากรในองค์กรด้วย โดยประกอบด้วย
Brittle มีความเปราะบาง

ปัจจัยต่างๆ ทางธุรกิจ นอกจากเปลี่ยนแปลงได้เสมอแล้ว ยังสามารถล่มสลายได้อย่าง รวดเร็วในเวลาเพียงข้ามคืน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบธุรกิจที่ถูกดิสรัปต์ได้โดยง่าย กลยุทธ์เดิมที่เคยใช้ แผนธุรกิจ หรือแม้แต่วิธีการทำงาน

Anxious สร้างความกังวล

พนักงานเกิดความกังวลและความเครียด เนื่องจาก ธรรมชาติของการทำงานเปลี่ยนไปจากเดิม โดยตอบสนองต่อความรวดเร็วและไม่แน่นอนของสถานการณ์

Nonlinear สับสนต่อการคาดเดา

วิธีคิด เหตุผล และ ประสบการณ์เดิมๆ ไม่สามารถใช้ทำนาย และการรันตีความสำเร็จได้อีกต่อไป ทำให้เกิดความผิดพลาด ความล่าช้า หรือ ไม่กล้าในการตัดสินใจ

Incomprehensible ยากเกินเข้าใจ

ข้อมูล ข่าวสาร ตลอดจนปัจจัยต่างๆ มีปริมาณมากและซับซ้อน ทั้งจริงและเท็จ ทำให้การวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือ สรุปเป็นไปได้ยาก

คนสำคัญที่จะช่วยองค์กรรับมือกับ BANI WORLD

บุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญไม่ด้อยไปกว่า CEO หรือ ผุ้บริหารระดับสูง ที่จะพาให้องค์กรสามารถรับมือกับความท้าทายในยุคของ BANI World ได้ ก็คือ ผู้นำในระดับกลาง (Middle Management) เนื่องจากผู้บริหารระดับกลาง คือ ผู้นำที่ต้องประสานระหว่างองค์กรและพนักงาน โดยต้องส่งผ่านจุดมุ่งหมายที่องค์กรต้องการจะไป และสนับสนุนการทำงานของทีมงานให้ไปสู่เป้าหมายนั่นให้ได้

ความท้าทายประการสำคัญ คือ ผู้นำในกลุ่มนี้จะต้องปรับตัวอย่างไร เพราะโลกทุกวันนี้ซับซ้อนและจัดการได้ยากกว่าโลกที่พวกเขาเคยมีประสบการณ์ กลยุทธ์ วิธีการ และความสำเร็จในแบบเดิมๆ อาจใช้ไม่ได้ในยุคนี้อีกต่อไป

ความเปราะบางที่เกิดกับทุกสิ่ง อาจทำให้พวกเขาเกิดความกังวลในทิศทางขององค์กร วิธีการบริหารงานที่เคยสร้างผลลัพธ์ ความซับซ้อนของสถานการณ์ บริบท และปัจจัยต่างๆ อาจทำใก่คาดการณ์สิ่งต่างๆได้ยาก จน เกิดความสับสนในการวิเคราะห์ ความลังเล หรือ แม้แต่ไม่กล้าตัดสินใจ

เมื่อผู้บริหารที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างองค์กร และพนักงาน ไม่อาจเอาชนะความท้าทายในยุค BANI World นี้ได้ เจตนารมณ์ขององค์กรย่อมมิอาจส่งไปถึงพนักงาน ตลอดจนการบริหารทีมงานอาจไม่เกิดประสิทธิภาพ จนทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายที่องค์กรต้องการ

จะสร้างโอกาสใน BANI WORLD ต้องพัฒนาผู้นำในด้านใด?

การรับมือกับการเปลี่ยนแปลง เป็นความท้าทายสำหรับองค์กรในทุกยุคสมัย ทว่าในยุค BANI World ความรวดเร็ว รุนแรง และผันผวน ทำให้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นเรื่องที่ยากยิ่ง โดยเฉพาะผู้นำซึ่งอยู่ในบทบาทที่ต้องบริหาร และกำกับทิศทางให้กับองค์กร เนื่องจากการบริหารงานในโลกที่เต็มไปด้วยความเปราะบางและวิตกกังวล เมื่อประกอบกับความไม่รู้และคาดเดาไม่ได้นั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องสร้างความสมดุลของสองด้าน คือ
 
  • ความสมดุลด้านทิศทางองค์กร ระหว่าง Growth (การเติบโต) และStability (ความมีเสถียรภาพ) เพื่อให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
  • ความสมดุลด้านคน ระหว่าง Productivity (ผลผลิต) และ Engagement (คน) เพื่อให้สามารถบริหารจัดการบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญ

สมดุลทั้งสองด้านนี้เป็นเสมือน หยิน และ หยาง ที่จะสร้างองค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์ได้ แม้จะอยู่ใน BANI World หรือ โลกใบใหม่ที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคตก็ตาม

ผู้บริหารจึงต้องปรับการสร้างสมดุลในสองเรื่องนี้ให้ได้  หรือ ที่เรียกว่าเป็นการบริหารแบบ Diamond Management นั่นเองครับ

ใครสนใจว่า การบริหารแบบนี้เป็นอย่างไร และต้องพัฒนาทักษะผู้บริหารแบบใดบ้าง ดูรายละเอียดได้ที่นี่เลยครับ
ต้องการพัฒนาผู้นำ ให้รับมือ BANI world มาเป็นเพื่อนกับเรา และรับคำปรึกษาและบริการในการพัฒนาคนของคุณได้อย่างตรงความคาดหวังได้ที่นี่
  
    เพิ่มเพื่อน    
 
 

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้