THE 5 CHALLENGES

วันที่: 02 ก.พ. 2565 13:00:09     แก้ไข: 22 ก.พ. 2565 16:28:44     เปิดอ่าน: 1,331     Blogs
หลายๆบริษัทเคยคาดหวังว่าปี 2021 จะเป็นปีที่เราสามารถตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงได้และมีแนวโน้มที่จะกลับสู่ภาวะปกติในไม่ช้า  แต่ในปัจจุบันก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าโลกเรามีการเปลี่ยนแปลงไปมากขนาดไหน ทุกธุรกิจทุกบริษัทและทุกๆพนักงานต่างก็ได้รับผลกระทบจากความผันผวนไม่แน่นอนซับซ้อนและคลุมเครือนี้ Long team plan แทบจะไม่ได้ใช้ พอๆกับ Vision ที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นรายไตรมาส ในปี 2022 นี้ ก็ยังเห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มขึ้นของสายพันธุ์โควิดใหม่ ๆ สงครามของ Talent ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พนักงานในสาขาที่ต้องการมีไม่เพียงพอ นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของ Hybrid Working ส่งผลให้พนักงานไม่สามารถส่งมอบผลงานได้อย่างที่คาดหวัง จากการทำงานกับลูกค้าหลายๆบริษัทและการศึกษาวิเคราะห์เชิงลึกของ CFG เราพบว่า ความท้าทายในการทำธุรกิจในปี 2022 มีเรื่องหลักอยู่ 5 ด้าน ดังนี้

1. ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายเชิงธุรกิจ (Unable to Achieve Business Target)
2. การขาดแคลนพนักงานในกลุ่ม Talent (Talent Crunch)
3. การทำงานแบบ Hybrid ทำให้ความร่วมมือในการทำงานน้อยลง (Hybrid work causes low collaboration )
4. หัวหน้าไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป (No Leader Needed)
5. วิธีการทำงานที่เปลี่ยนไป (Changing the way of work)

Unable to Achieve Business Target

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกในสองปีที่ผ่านมาส่งผลให้การคาดการณ์ต่าง ๆ ทางธุรกิจเป็นไปได้ยากขึ้น ทั้งความต้องการของลูกค้า ตลาดที่เปลี่ยนไป การแข่งขันทั้งกับคู่แข่งทั้งในและนอกธุรกิจ อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วจนแทบจะตามไม่ทัน จากปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้ได้ลดทอนแประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรลงจนส่งกระทบต่อผลการดำเนินงาน บริษัทส่วนใหญ่ไม่บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ ซึ่งความท้าทายนี้ไม่ได้ส่งผลเพียงแค่ในปีนั้นแต่อาจส่งผลต่อความอยู่รอดขององค์กรในระยะยาว



 

Talent Crunch

ในปี 2022 ปัญหาด้านการขาดTalents หรือ พนักงานที่มีความสามารถเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Talent ที่มีความสามารถในการเรียนรู้ การปรับตัวอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีทักษะในด้านดิจิทัล หลายองค์กรมีแนวโน้มสูญเสีย talent ขององค์กรอันเนื่องมาจากความต้องการในตลาดแรงงานมีอยู่สูงมาก พนักงานในกลุ่มนี้มีการลาออกในอัตราที่สูง ในขณะเดียวกันองค์กรก็ไม่สามารถดึง Talent ในตลาดให้เข้ามาทำงานด้วยได้ และยังไม่สามารถพัฒนาพนักงานในปัจจุบันให้เป็น Talent ได้ทันใช้งาน



 

Hybrid work causes low collaboration

เกือบทุกองค์กรในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้วิธีการทำงานแบบ Hybrid Working ทำให้พนักงานไม่ได้เจอหน้าทีมงานหรือหัวหน้า ทุกคนต้องทำงานอย่าง independent ส่งผลให้ขาดความร่วมมือและปฏิสัมพันธ์กันในระหว่างทีมซึ่งเป็นพื้นฐานของมนุษย์ หลายครั้งพนักงานไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไร การทำงานและการตัดสินใจขึ้นอยู่กับความเชื่อส่วนบุคคลเป็นหลัก เป้าหมายส่วนตัวเด่นชัดกว่าเป้าหมายของทีม ซึ่งการสร้าง Collaboration ในยุคนี้ก็แตกต่างไปจากการทำงานร่วมกันเป็นทีมสมัยก่อน ดังนั้นความท้าทายด้าน Collaborate ในยุค Hybrid Working จึงกลายเป็นปัญหาอย่างหนึ่งขององค์กร


 

No Leader Needed

หัวหน้าไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ปัญหาด้านภาวะผู้นำเป็นปัญหาพื้นฐานของทุกองค์กรตั้งแต่อดีดมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าวันนี้บริบทการทำงานของผู้นำได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง บทบาทของหัวหน้าในฐานะผู้จัดการหรือผู้บังคับบัญชาไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบ การตัดสินใจ การชี้แนะหรือชี้นำล้วนไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ในการทำงานแบบ Hybrid working พนักงานทุกคนต้องเรียนรู้ด้วยตนเองและทำงานได้อย่าง Independent บทบาทใหม่ของผู้นำคือการ Facilitate ทีมงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและสามารถบรรลุเป้าหมายได้ด้วยการเน้นให้ทีมงานมีอิสระและความคล่องตัวในการทำงานมากที่สุด ทั้งนี้ การวางแผนร่วมกัน การจัดลำดับความสำคัญให้ทีม และการทำงานอย่างมีระบบยังคงต้องมีอยู่ เพียงแต่ต้องเปลี่ยนจากการจัดการให้เป็นการ สนับสนุนเพื่อช่วยทีมทำงานให้สำเร็จ

 

Changing the way of work

วิกฤตโควิด 19 นำมาซึ่งการปรับตัวต่อการทำงานแบบใหม่ skill ใหม่ๆ หรืออาชีพใหม่ๆ สิ่งนี้เป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นกับพนักงานทุกระดับ โลกที่เปลี่ยนเร็วส่งผลกระทบต่อทั้งวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ รวมถึงกระบวนการทำงานในองค์กร แม้ว่ายุคนี้ ทุกคนยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น แต่ปัญหาคือ พนักงานสามารถเปลี่ยนแปลงได้เร็วและมีประสิทธิภาพเพียงพอในการผลักดันองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าหรือไม่ เราจึงเห็นเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างคนทำงานที่ปรับตัวต่อสถานการณ์ได้ดีและคนที่ยังปรับตัวไม่ได้

คนกลุ่มที่ปรับตัวได้ก็จะมีความสุขกับวิถีการทำงานแบบใหม่ แต่บางคนที่ปรับตัวไม่ได้ว่าเส้นแบ่งชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวอยู่ตรงไหน ก็อาจเกิดภาวะเครียด หมดไฟ และหมดใจ ในการทำงานได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทัศนคติและความสามารถของพนักงานเป็นสำคัญ

 

COACH FOR GOAL SOLUTIONS

จากความท้าทายทั้ง 5 ประเด็นที่เกิดขึ้นในปี 2021 ทาง Coach For Goal ได้วิเคราะห์และศึกษาแนวทางแก้ไขในแต่ละประเด็น เพื่อสามารถแก้ไขได้ตรงสาเหตุของปัญหามากที่สุด โดยได้ปรับให้เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก เพื่อเป็นส่วนสนับสนุนให้ทุกองค์กรสามารถก้าวข้ามผ่านความท้าทายที่เกิดขึ้นได้อย่างสำเร็จจนส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานขององค์กร ได้แก่

  1. Increase Business Performance   (Read more)
  2. Develop & Engage Talents   (Read more)
  3. Create Team Collaboration   (Read more)
  4. Develop New Dimension of Leadership   (Read more)
  5. Plant the Change Mindset   (Read more)

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้

Personal Values ช่วยพัฒนาผู้นำในองค์กรได้อย่างไร? หัวหน้าแต่ละคนบริหารต่างกัน ส่วนหนึ่งเกิดจาก "ค่านิยมส่วนบุคคล" (Personal Values) ซึ่งก็คือ ความเชื่อที่เกิดจากประสบการณ์ ที่หล่อหลอม เรียนรู้ และยึดถือ ความเชื่อนั้นว่าเป็นจริง เป็นสิ่งที่ดีสำหรับชีวิตตัวเอง โดยทั่วไปค่านิยมส่วนบุคคลนั้น มี 2 ระดับ คือ
Personal Values ช่วยพัฒนาผู้นำในองค์กรได้อย่างไร?

หัวหน้าแต่ละคนบริหารต่างกัน ส่วนหนึ่งเกิดจาก "ค่านิยมส่วนบุคคล" (Personal Values) ซึ่งก็คือ ความเชื่อที่เกิดจากประสบการณ์ ที่หล่อหลอม เรียนรู้ และยึดถือ ความเชื่อนั้นว่าเป็นจริง เป็นสิ่งที่ดีสำหรับชีวิตตัวเอง โดยทั่วไปค่านิยมส่วนบุคคลนั้น มี 2 ระดับ คือ